กรรมสิทธิ์ห้องชุดต่างจากโฉนดที่ดินอย่างไร

การซื้อห้องชุด & ซื้อบ้านและที่ดิน
จะได้เอกสารสิทธิครอบครองต่างกัน
ว่าเป็นการครอบครองพื้นที่ส่วนไหนอย่างไรบ้าง

กรรมสิทธิ์ห้องชุดต่างจากโฉนดที่ดินอย่างไร

กรรมสิทธิ์ห้องชุดต่างจากโฉนดที่ดินอย่างไร

            ห้องชุด หรือคอนโด เมื่อเรามีการทำสัญญาซื้อห้องชุดหรือคอนโด เราจะได้ “หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดหรือ อ.ช. 2” โดยระบุในสัญญาซื้อขายไว้ว่าเราคือ เจ้าของร่วม ของโครงการนั้นๆ แต่ถ้าเป็นการซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม จะมีการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การถือจากเดิมที่เป็นบริษัทที่ทำโครงการ เป็นชื่อเราซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน เราจะเรียกว่า “โฉนด” ซึ่งแค่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ก็ต่างกัน เพราะแสดงความเป็นเจ้าของว่าเราครอบครองส่วนไหนนั่นเอง

          ถ้าเป็นกรณีเช่น ซื้อบ้านทาว์เฮาส์ของโครงการ ถ้ากรณีจ่ายสดครบถ้วน ก็สามารถโอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนชื่อเจ้าของมาเป็นชื่อผู้ซื้อในโฉนดที่ดิน เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดินแปลงนั้นๆ แต่หากกรณีซื้อโดยกู้ผ่านธนาคารจนกว่าผู้ซื้อจะจ่ายครบ กรรมสิทธิ์ในโฉนดจะเป็นชื่อของผู้ซื้อ แต่ติดภาระจำนองกับธนาคารที่กู้เงิน ซึ่งโฉนดตัวจริงธนาคารจะเป็นผู้เก็บโฉนดไว้ ส่วนผู้ซื้อจะได้รับสำเนาโฉนดแทน

          ถ้าเป็นห้องชุด หรือคอนโด กรณีที่มีการซื้อขายกันจะคล้ายกรณีที่มีการซื้อบ้านทาว์เฮาส์ของโครงการ ซึ่งต้องดูว่าเป็นการทำสัญญาซื้อขายแบบชำระทั้งหมด หรือกู้ผ่านธนาคารชำระเป็นงวดๆจนครบตามสัญญา ซึ่งในสัญญาจะระบุว่าเราคือ “เจ้าของร่วม” ของโครงการนั้นๆ และผู้ซื้อจะได้กรรมสิทธิ์ที่ได้รับจะเป็นหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือ อ.ช.2 จะเขียนไว้ว่าห้องชุดเลขที่เท่าไหร่ , ชั้นที่เท่าไหร่ ,อาคารเลขที่อะไร , ชื่ออาคารชุด ,ทะเบียนอาคารชุดเลขที่ จะมีภาพแสดงแผนผังห้องชุดแสดงพื้นที่ที่ครอบครอง ซึ่งตรงนี้แหละครับที่จะแตกต่างกับโฉนด เพราะในโครงการจะมีพื้นที่อื่นๆที่ไม่รวมความเป็นเจ้าของเอาไว้ แต่ผู้ซื้อสามารถใช้สิทธิ์ในพื้นที่ส่วนกลาง สาธารณูปโภคต่างๆที่โครงการจัดไว้ เช่น ฟิตเนส , สระว่ายน้ำ , สวนสาธารณะ เป็นต้น โดยจะมีการเรียกเก็บค่าส่วนกลางตามพื้นที่ห้องชุดที่ซื้อไว้ หรือตามสัญญา

กรณีห้องชุดหรือคอนโดเกิดวินาศภัย

          กรณีห้องชุดหรือคอนโดเกิดวินาศภัย ทางโครงการหรือนิติบุคคลของโครงการจะดูแลกรณีเกิดวินาศภัย เช่นไฟไหม้ หรือแผ่นดินไหว โดยจะนำเงินประกันมาจัดสรรให้แก่ผู้พักอาศัยที่ได้รับความเสียหายตามกรรมสิทธิ์ของพื้นที่ตามหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้นๆคิดกับพื้นที่โครงการทั้งหมด ส่วนเงินส่วนที่เหลือที่ได้มาตามวงเงินประกัน จะมีการเรียกประชุมผู้พักอาศัยว่าจะนำเงินส่วนต่างไปทำอะไรเช่นนำเงินไปซ่อมแซม หรือสร้างอาคารใหม่

            ข้อดีของการซื้อห้องชุดหรือคอนโดนั้น คือ ห้องชุดหรือคอนโดส่วนใหญ่ จะเลือกทำเลที่ตั้งเพื่อให้สะดวกต่อการเดินทาง มีของตกแต่งภายในพร้อมเข้าอยู่ มีพื้นที่ส่วนกลางครบครั้น มีความปลอดภัยสูง กรณีเช่นไฟฟ้ามีปัญหา ก็สามารถแจ้งนิติบุคคลของโครงเพื่อตามช่างมาซ่อมแซมให้ อีกทั้งสามารถซื้อคอนโดสำหรับการลงทุนปล่อยเช่า เก็งกำไรได้
           ดังนั้นแล้ว ควรพิจารณาให้ดีก่อนทำสัญญาซื้อขาย และดูความต้องการว่าอยากได้เป็นห้องชุด หรือซื้อบ้านพร้อมที่ดินของโครงการ ซึ่งอาจแตกต่างตรงที่เราไม่มีที่ดิน  แต่สำหรับห้องชุดถ้าเกิดไฟไหม้ขึ้นมาทางนิติบุคคลของโครงการก็จะนำเงินค่าชดเชยจากวงเงินประกันให้ผู้ได้รับความเสียหายนั้นเอง

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »