ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
#เปิดหลักเกณฑ์
การเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา
เรียกอย่างไร?
ถ้านึกถึงคดีอาญา คุณจะนึกถึงอะไรเป็นอันดับแรกครับ… สำหรับผมก็คงจะเป็นการกระทำความผิดร้ายแรงแล้วก็คงเป็นการติดคุกครับ ซึ่งแน่นอนใครที่ต้องเป็นจำเลยในคดีอาญาก็ต้องกลัวว่าตัวเองจะติดคุกหรือเปล่าเป็นธรรมดาใช่ไหมครับ แต่ผมจะมาบอกอีกเรื่องว่า ในคดีอาญาก็อาจถูกเรียกให้จ่ายเงินเป็นค่าสินไหมทดแทนได้เหมือนกันครับ
แต่ก่อนที่เราจะเข้าเรื่อง ช่วยคอมเมนต์บอกเราหน่อยว่า “ถ้านึกถึงคดีอาญา คุณจะนึกถึงอะไรเป็นอย่างแรก” ถ้าคอมเมนต์กันแล้ว เราไปที่เนื้อหากันเลยครับ
หลายคนรู้กฎหมายว่าถ้ากระทำความผิดแล้วยอมรับสารภาพ ศาลจะลดโทษให้ และถ้าโทษไม่เกิน 5 ปี และเป็นความผิดครั้งแรก พฤติการณ์คดีไม่ร้ายแรงมาก ก็มีโอกาสสูงที่ศาลจะรอการลงโทษเอาไว้ก่อน ซึ่งเป็นเรื่องจริงครับ แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายเปิดช่องให้ผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาจากจำเลยได้ครับ ดังนั้น คำตอบแรกก็ชัดแล้วว่าสามารถมีการเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาได้
การเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา กฎหมายกำหนดเอาไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
กรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ก็คือคดีที่เราได้ไปแจ้งความร้องทุกข์โดยที่ไม่ได้ฟ้องเองนั่นแหละครับ หากผู้เสียหายเป็นคนฟ้องคดีเอง แบบนี้จะทำเรียกค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 ไม่ได้ โดยพนักงานอัยการจะต้องเป็นโจทก์หลักในคดี แม้เราเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วก็ตาม ก็ยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 ได้ครับ
2.1 ได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ
2.2 ได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายหรือชื่อเสียง
2.3 ได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สิน
ความเสียหายทั้งหลายตามข้อ 2. จะต้องเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยถึงจะสามารถเรียกค่าเสียหายในคดีอาญาได้ เช่น เราถูกจำเลยใช้ไม้ฟาดที่หัวแล้วเราเกิดได้รับการกระทบกระเทือนที่สมอง การกระทบกระเทือนดังกล่าวก็เป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยใช้ไม้ฟาดเรานั่นเอง
การเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาตามมาตรา 44/1 กำหนดให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อศาลโดยขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่จำเลยกระทำให้แก่ตนได้ ซึ่งกฎหมายเปิดให้ยื่นในคดีอาญาได้เลย ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องไปฟ้องคดีใหม่ และยื่นต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญานั้นได้เลยโดยที่ไม่ต้องสนใจว่าศาลนั้นจะเป็นศาลอะไร และมีทุนทรัพย์เท่าไหร่
แต่ถึงยื่นไปแล้วก็ยังวางใจไม่ได้นะครับ ผู้เสียหายจะต้องนำสืบให้ศาลเห็นด้วยว่า การกระทำของจำเลยทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เพราะถ้าไม่นำสืบให้ชัดเจน มีโอกาสที่ศาลจะไม่สั่งให้และจะต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งเพื่อนำสืบเรื่องความเสียหายเองอีกทีนะครับ
ผู้เสียหายจะต้องยื่นคำร้องขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนเริ่มสืบพยานครับ แต่ถ้าไม่มีการสืบพยาน เช่น คดีที่เข้าหลักเกณฑ์ให้ศาลพิพากษาได้โดยที่ไม่ต้องสืบพยาน เราก็ต้องยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือก่อนศาลพิพากษานั่นเองครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ