ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินที่ใครๆ ก็อยากจับจองได้มาเป็นของตัวเองคนเดียวทั้งนั้นเพราะว่านับวันก็มีแต่ราคาจะขึ้นเรื่อยๆ แต่สำหรับที่ดินที่มีชื่อเจ้าของหลายคน หรือในทางกฎหมายจะเรียกว่า “ที่ดินกรรมสิทธิ์รวม” เจ้าของแต่ละคนมีสิทธิในส่วนไหน อย่างไร แล้วจะแบ่งแยกที่ดินออกมาได้หรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันครับ
ก่อนอื่นเลยที่ดินที่จะมีกรรมสิทธิ์ได้นั้นจะต้องเป็นที่ดินมีโฉนดหรือ น.ส.4 ครับ โดยที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ก็คือที่ดินที่มีเจ้าของตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปนั่นเอง ซึ่งเราสามารถเช็คได้จากสารบัญจดทะเบียนด้านหลังโฉนดนั้นๆ ได้เลย ถ้ามีหลายชื่อ นั่นแหละครับที่ดินกรรมสิทธิ์รวม
ที่ดินกรรมสิทธิ์รวมนี้โดยหลักผู้ที่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์จะมีสิทธิเท่าๆ กันทุกคน จะใช้สอย
ที่ดินตรงไหนก็ได้เสมือนเป็นที่ดินของตัวเองทั้งแปลงก็ยังได้ (อันนี้ถ้าคนอื่นยอมนะครับ) เจ้าของรวมทุกคนอาจตกลงกันแบ่งการครอบครองกันเองก็ได้ว่าใครใช้พื้นที่ตรงไหน มีเขตแบ่งยังไง หรืออาจจะใช้เป็นพื้นที่ในการทำธุรกิจร่วมกันไปเลย
แน่นอนว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง เมื่อเราต้องการเงิน การขายที่ดินก็เป็นอีกทางหนึ่งในการได้เงินก้อนมาใช่ไหมล่ะครับ แต่ถ้าที่ดินของเราเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์รวมล่ะ มีเจ้าของหลายคน จะขายยังไง คำถามนี้หลายคนก็รู้คำตอบอยู่แล้ว ก็ ‘แบ่งแยกที่ดิน’ สิ ถูกต้องครับ แต่จะ ‘แบ่งแยกที่ดิน’ ยังไงล่ะ ถ้าใครยังไม่รู้ตามไปดูกันเลยครับ
การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวมนี้กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ที่วางหลักว่า การแบ่งทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมให้แบ่งกันเองระหว่างเจ้าของ หรือขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินกันอย่างไร เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดร้องขอต่อศาล ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากัน จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้ ถ้าการแบ่งไม่อาจทำได้หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายมากก็ดี ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคาระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้
ตัวบทนี่ค่อนข้างยาวเลยนะครับ ผมจะขอสรุปให้เป็น 2 กรณีนะครับ
1. กรณีแบ่งกันเองได้
กรณีนี้ง่ายเลยครับ ถ้าเจ้าของรวมแบ่งแยกการครอบครองไว้แต่แรก ตกลงกันแต่แรกว่าใครจะเอาส่วนไหน จะใช้ส่วนไหน แบบนี้ก็สามารถแบ่งแยกที่ดินตามที่ตกลงกันแต่แรกเลยก็ได้ครับ เพราะสุดท้ายก็เป็นเรื่องที่เจ้าของสามารถตกลงกันเองได้อยู่แล้ว
2. กรณีแบ่งกันเองไม่ได้
ถ้าเกิดไม่ได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ว่าจะแบ่งยังไง เจ้าของรวมอาจตกลงกันขายแล้วเอาเงินมาแบ่งกันก็ได้ครับ แบบนี้คือง่ายสุด แต่แน่นอนว่าเจ้าของรวมคนอื่นก็คงไม่ได้อยากขายทรัพย์สินที่มีแต่จะทำเงินได้ไปหรอกครับ
กฎหมายจึงกำหนดให้เจ้าของรวมคนหนึ่งอาจร้องขอต่อศาลโดยร้องขอให้แบ่งที่ดินก็ได้ครับ ซึ่งก็จะต้องดำเนินกระบวนการในศาลกันไปนะครับ ศาลสามารถมีคำสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นแบ่งก็ได้ โดยแบ่งในสัดส่วนที่เท่ากัน ถ้าไม่เท่ากันก็ให้ชดใช้เป็นเงินแทนครับ
แต่ถ้าไม่สามารถแบ่งได้ หรือแบ่งได้แต่จะทำให้เกิดความเสียหายมาก ศาลอาจจะให้เจ้าของรวมในที่ดินประมูลราคากันก็ได้หรือศาลอาจจะให้ขายทอดตลาดที่ดินทั้งแปลงแล้วนำเงินมาแบ่งกันก็ได้ครับ
ถ้าเกิดเจ้าของรวมตกลงกันเองได้ว่าจะแบ่งแยกที่ดินกันยังไง ก็สามารถไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดินที่อยู่ในเขตนั้นๆ ได้เลยครับ โดยจะมีขั้นตอนดังนี้
1.ติดต่อสำนักงานที่ดินแจ้งว่าต้องการแบ่งแยกโฉนด เจ้าหน้าที่จะนัดวันเพื่อรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งโฉนด
2.รังวัดที่ดินที่ต้องการแบ่ง
3.เจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินให้ใหม่ตามที่ตกลงแบ่งกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ