ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
ทรัพย์ที่เราขวนขวายหามาทั้งชีวิต คนส่วนมากก็อยากจะเก็บไว้ให้ลูกหลานหรือคนที่เรารัก เพื่อให้ได้มีไว้ใช้ในภายภาคหน้ายามที่เราสิ้นบุญไปแล้ว หลายคนก้มหน้าก้มตาหาทรัพย์มาสะสมแต่กลับลืมที่จะสั่งสอนลูกหลานให้ขยันทำกินและเก็บรักษาทรัพย์เหมือนที่เราทำได้ เมื่อถึงคราวให้ทรัพย์ไปก็อดกังวลมิได้ว่าลูกหลานที่รับทรัพย์นั้นไปจะดูแลรักษา สร้างมูลค่าให้งอกเงยได้ หรือเอาไปขายกินเสียจนสิ้นเนื้อประดาตัวในเพียงเวลาไม่นาน เรื่องลักษณะนี้เกิดขึ้นกับหลายครอบครัว กลายเป็นเรื่องหนักใจ จะไม่ให้เสียเลยก็กลัวลูกหลานจะหมดหนทาง จะให้ไปก็ตายตาไม่หลับ
แน่นอนว่าปัญหาแบบนี้อยู่คู่กับสังคมมานาน กฎหมายจึงได้บัญญัติหนทางแก้ไขให้คลายกังวลได้บ้าง ด้วยวิธีการวางข้อกำหนด “ห้ามโอน” ซึ่งได้บัญญัติไว้ในหมวด 6 ว่าด้วยความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1700 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในหมวดนี้บุคคลจะจำหน่ายทรัพย์สินใด ๆ โดยนิติกรรมที่มีผลในระหว่างมีชีวิตหรือเมื่อตายแล้ว โดยมีข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้รับประโยชน์โอนทรัพย์สินก็ได้ แต่ต้องมีบุคคลหนึ่งนอกจากผู้รับประโยชน์กำหนดไว้ สำหรับเป็นผู้จะได้รับทรัพย์สินนั้นเป็นสิทธิเด็ดขาด ในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน
กล่าวคือ เจ้าของทรัพย์ที่เป็นทรัพย์อันต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์กังวลถึงปัญหาข้างต้น ยังสามารถทำนิติกรรมยกให้ในขณะที่ตนมีชีวิตอยู่ หรือแม้กระทั่งกำหนดไว้ในพินัยกรรม ไม่ว่าผู้รับประโยชน์จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยจดแจ้งเป็นเงื่อนไข พร้อมตั้งผู้อื่นเป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นสิทธิเด็ดขาด เมื่อมีการละเมิดข้อกำหนด ซึ่งข้อกำหนดห้ามโอนตามมาตรา 1700 นั้น จะให้มีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้รับประโยชน์ก็ได้
หากมิได้กำหนดเวลาห้ามโอนไว้ ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลธรรมดา ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนมีระยะเวลาอยู่ตลอดชีวิตของผู้รับประโยชน์ แต่กรณีที่ผู้รับประโยชน์เป็นนิติบุคคล ให้มีระยะเวลาเพียงสามสิบปี
ข้อกำหนดนี้สามารถกระทำได้ทั้งทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน บ้าน อสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เช่น รถยนต์ แต่จะต้องเป็นทรัพย์ที่จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้ หากข้อกำหนดใดที่ไม่สามารถจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้ ก็ให้ถือว่าไม่มีข้อกำหนดเลย
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ