คดีชิงทรัพย์คืออะไร โทษเพียงใด

ถ้าซัดทอดว่าอีกคนทำความผิดโดยไม่มีหลักฐาน
หรือซัดทอดว่าอีกคนทำความผิดโดยมีหลักฐาน
พยานซัดทอดในสองกรณีดังกล่าว รับฟังได้หรือไม่

คดีชิงทรัพย์คืออะไร โทษเพียงใด

คดีชิงทรัพย์ คืออะไร?

              คดีชิงทรัพย์ คือ คดีความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ โดยที่ผู้กระทำเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยใช้กำลังทำร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำร้ายเพื่อให้ได้ทรัพย์ของผู้อื่นมา โดยความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีลักษณะของความผิด 2-3 ลักษณะรวมกัน โดยผมจะอธิบายในส่วนต่อไป

ความผิดฐานชิงทรัพย์ คือ การลักทรัพย์ + ทำร้าย/ขู่เข็ญว่าจะทำร้าย

          ในความผิดฐานชิงทรัพย์ กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ที่วางหลักว่า ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย…ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
          จะเห็นได้ว่า ความผิดฐานชิงทรัพย์กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ใด “ลักทรัพย์” ดังนั้น การกระทำจะต้องเป็นลักทรัพย์ก่อนซึ่งก็คือ การเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไปโดยทุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผสมกับการทำร้ายหรือขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะทำร้ายถ้าไม่ให้ทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดที่รุนแรงกว่าการลักทรัพย์เพราะการใช้กำลังทำร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำร้ายนั้นทำให้ผู้กระทำได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาง่ายขึ้นนั่นเอง
         ดังนั้น ความผิดฐานชิงทรัพย์ก็คือ เอาทรัพย์สินของผู้อื่นไปโดยทุจริต + ใช้กำลังทำร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังทำร้ายร้ายนั่นเอง

จุดประสงค์ของการทำร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำร้าย

           การใช้กำลังทำร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะทำร้ายจะต้องมีมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
1 ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
2 ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
3 ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ หรือ
4 ปกปิดการกระทำความผิดนั้น
5 ให้พ้นจากการจับกุม

โทษของคดีชิงทรัพย์

          คดีชิงทรัพย์แม้จะเป็นคดีเกี่ยวกับการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป แต่การชิงทรัพย์นั้นมีการทำร้ายหรือการขู่เข็ญว่าจะทำร้ายอยู่ด้วยทำให้การชิงทรัพย์เป็นความผิดที่ร้ายแรง โทษของคดีชิงทรัพย์จึงค่อนข้างสูง
          โดยโทษของการชิงทรัพย์ คือ จำคุกตั้งแต่ 5-10 ปี และปรับ 100,000-200,000 บาท โดยที่จะเลือกจำคุกหรือปรับไม่ได้ เมื่อผิดชิงทรัพย์จะโดนทั้งจำทั้งปรับทันที

info - คดีชิงทรัพย์คืออะไร โทษเพียงใด

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »