ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
คำว่า “มรดก” อาจเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งของที่ตกทอดกันมาจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือแม้แต่สิ่งของของรุ่นพี่ในสถาบันการศึกษาที่ได้มอบแก่รุ่นน้อง ซึ่งเป็นคำที่ใช้ติดปากกันแม้จะไม่ถูกต้องตามความหมายที่แท้จริงสักเท่าใด โดยในทางกฎหมายนั้น “มรดก” คือทรัพย์สินทุกชิ้นของผู้ตาย รวมตลอดทั้งทรัพย์สินที่เป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ตาย ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่ากองมรดก
พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ” หมายความว่า “เมื่อตายไป ทรัพย์สักนิดก็ติดตามไปไม่ได้” ทรัพย์ที่มีตอนมีชีวิตอยู่ก็กลายเป็นมรดกตกไปยังเจ้าหนี้และทายาทผู้มีสิทธิ์รับมรดกกันไป การโอนทรัพย์มรดกต่าง ๆ อันเป็นทรัพย์ปกติ หากทายาทตกลงกันได้ก็มอบความครอบครองทรัพย์นั้นให้แต่ละคนได้ทันที แต่หากเป็นทรัพย์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นหรือทรัพย์ที่ต้องทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เช่น เงินฝากในบัญชีธนาคาร ที่ดิน รถยนต์ บุคคลอื่นที่ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ย่อมไม่มีสิทธิ์ใช้ดุลยพินิจของตนในการตัดสินว่าทายาทผู้นั้นมีสิทธิกระทำการใดแทนกองมรดกหรือไม่ จึงจำเป็นต้องให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการจัดการมรดกให้เป็นไปตามกฎหมาย
การขอศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 วรรคแรก ได้วางแนวทางไว้ว่า “ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้..” ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการร้องขอจัดการมรดกก็จะต้องมีผู้ร้อง และ ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ส่วนใหญ่แล้วผู้ร้องมักขอศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกไปเสียทีเดียว ซึ่งบุคคลที่จะเป็นผู้ร้องขอศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้นั้น จะต้องเป็นทายาทผู้มีสิทธิ์รับมรดก ทั้งทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกองมรดก เช่น เจ้าของรวมในทรัพย์มรดก, สามีหรือภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอยู่กินด้วยกัน มีทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกัน, เจ้าหนี้ของกองมรดก ซึ่งต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถเรียกร้องต่อทายาทของเจ้ามรดกให้ชำระหนี้ได้จึงจะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย หากยังเรียกร้องได้ ไม่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม และ ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ที่เป็นทายาท
ส่วนบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 1718 กล่าวคือ ต้องบรรลุนิติภาวะ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ศาลยังต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและใช้ดุลยพินิจโดยการยึดเอาผลประโยชน์ของกองมรดกและการแบ่งส่วนแก่ทายาทตามกฎหมายเป็นที่ตั้ง เช่น ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2528 “การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจถึงความเหมาะสม หรือในพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วยเมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ร้อง ซึ่งเป็นทายาทมีความขัดแย้งกับทายาทอื่นอยู่ ถ้าตั้งผู้ร้อง ให้เป็นผู้จัดการมรดกอาจก่อ ให้เกิดความเสียหายได้ ถึงแม้ผู้ร้อง จะไม่เป็นบุคคล ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ก็ตามศาลก็ไม่จำต้องตั้งผู้ร้องตามคำร้องทุกกรณีเสมอไป
บางกรณีที่ผู้ร้องไม่สะดวกในการจัดการมรดก เช่น ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่สะดวกในการเดินทาง หรือ ผู้ร้องสูงอายุหรือเจ็บป่วย ไม่สะดวกในการทำการติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก หรือ ต้องการบุคคลอื่นที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการมรดกมาจัดการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดกได้ดีกว่า ก็สามารถตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกได้ ซึ่งการดำเนินการร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกก็คล้ายกับกรณีทั่วไป มีเพียงการปรับถ้อยคำในหนังสือยินยอมของทายาท ที่ยินยอมให้ผู้ร้องดำเนินการร้องต่อศาลเพื่อให้ระบุให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกและบุคคลนั้นก็ยินยอมที่จะรับทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกเช่นกัน สำหรับการไต่สวนคำร้อง นอกจากผู้ร้องเข้าเบิกความแล้ว ผู้รับเป็นผู้จัดการมรดกก็อาจต้องเข้าเบิกความต่อศาลเพื่อรับหน้าที่เช่นกัน กระบวนการอื่น ๆ เช่นทายาทคนอื่นร้องคัดค้าน หรือร้องถอดถอนผู้จัดการมรดกก็สามารถทำได้เช่นกันดังกรณีปกติ
เมื่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งตั้งบุคคลนั้นเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ก็มีสิทธิหน้าที่จัดการมรดกให้แก่ทายาทโดยเท่าเทียมตามกฎหมาย และจัดการดูแลทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้ถูกแบ่งออกโดยยึดหลักสุจริตและรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกนั้นเป็นที่ตั้ง จนกว่าจะทำการแบ่งทรัพย์มรดกทั้งหมดเสร็จสิ้น
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ