ให้โดยเสน่หา เรียกคืนได้ไหม

ให้โดยเสน่หา เรียกคืนได้ไหม

                      การให้โดยเสน่หา เป็นการให้โดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นการให้ที่ผู้ให้ไม่ได้ต้องการอะไรตอบแทนกลับคืนมา แต่ว่าถ้าให้ไปแล้ว ผู้รับทำไม่ดีกับเรา สามารถ “ถอนคืนการให้” หรือขอทรัพย์ที่ให้ไปคืนได้หรือไม่ หากใครยังไม่รู้ วันนี้ผมมีคำตอบให้กับทุกคนครับ

การให้โดยเสน่หา คืออะไร?

                     การให้โดยเสน่หา ตามกฎหมายจะมีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 ที่วางหลักว่า สัญญาให้ คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับและผู้รับยอมรับทรัพย์สินนั้นไว้
การให้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อส่งมอบการครอบครองให้แก่ผู้รับแล้ว จะส่งมอบด้วยวิธีไหนก็ได้ขอแค่ให้ผู้รับสามารถมีอำนาจจัดการทรัพย์สินนั้นได้ก็พอครับ ถ้าเป็นบ้าน ที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องมีการจดทะเบียน ก็ต้องทำตามขั้นตอนของการจดทะเบียนให้เรียบร้อยแบบนี้ถึงจะเป็นการให้ที่สมบูรณ์ครับ

ให้โดยเสน่หาแล้ว ฟ้องถอนคืนการให้ได้

                 ถ้าเราให้ทรัพย์ใครไปโดยเสน่หา คนที่รับไปก็จะเป็นเจ้าของถูกไหมครับ แต่ถ้าเขาทำไม่ดีกับเรา เราก็ยังสามารถเรียกคืนได้อยู่ แต่ก็ไม่ใช่จะเรียกคืนได้ทุกกรณีครับเพราะมีกฎหมายกำหนดเรื่องนี้เอาไว้โดยตรงในมาตรา 531 ครับ
                มาตรา 531 วางหลักว่า ผู้ให้จะถอนคืนการให้เพราะผู้รับประพฤติเนรคุณได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1.ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาร้ายแรง
               – กรณีนี้มักจะเป็นกรณีที่ผู้รับทำร้ายร่างกายผู้ให้อย่างรุนแรง ทำให้ผู้รับได้รับอันตรายสาหัส ถึงขั้นพิการครับ ซึ่งเราอาจเทียบได้กับประมวลกฎหมาย                         อาญา 

               มาตรา 297 ที่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายสาหัสครับ
2.ผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
               – กรณีนี้อาจจะไม่ต้องถึงขนาดเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาครับ แค่ผู้ให้ใส่ความผู้รับกับคนอื่นจนทำให้ผู้รับเสียหายหรือ                        เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงซึ่งอาจไม่ถึงขั้นเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ทำให้ผู้รับเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงก็พอแล้ว
3.ผู้รับไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นในการเลี้ยงชีพแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับสามารถให้ได้
             – กรณีนี้ตัวผู้ให้จะต้องขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิตและได้ไปขอความช่วยเหลือจากผู้รับ ซึ่งตัวผู้รับสามารถให้ปัจจัยในการดำรงชีวิตแก่ผู้รับได้โดยที่                    ผู้รับไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่ผู้รับปฏิเสธที่จะให้ ถ้าข้อเท็จจริงแบบนี้ก็ฟ้องขอถอนคืนการให้ได้เลยครับ แต่ถ้าไม่ครบ เช่น ผู้ให้ไม่ได้ขอความช่วยเหลือ หรือ                  ผู้รับให้ได้ แต่ถ้าให้ไปตัวผู้รับก็จะเดือดร้อนเช่นกัน แบบนี้ก็ไม่เข้าเหตุที่จะขอถอนคืนการให้ได้ตามข้อนี้ครับ
                ซึ่งการที่จะถอนคืนการให้จากผู้รับที่ประพฤติเนรคุณนั้น เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งใน 3 เหตุนี้ก็สามารถฟ้องเพิกถอนการให้ได้แล้วครับ

 

ให้โดยเสน่หาแล้ว ฟ้องถอนคืนการให้ได้

                แต่เดี๋ยวก่อน!! การถอนคืนการให้นี้ก็มีข้อยกเว้นอยู่ในมาตรา 535 คือการให้ตามที่ผมจะกล่าวนี้จะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้นั่นเอง
1.ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยเเท้ เป็นการให้ในเชิงตอบแทนหรือเป็นรางวัล โดยที่ไม่ได้ตกลงกันมาก่อนว่าจะให้
2.ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน คือผู้รับทรัพย์นั้นมาจะต้องปฎิบัติตามภาระตอบแทนการให้ด้วย เช่น รับที่ดินที่ติดจำนองมาโดยผู้รับจะต้องไปไถ่จำนองออกมา
3.ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา คือการให้ที่ผู้ให้มีหน้าที่ทางศีลธรรมที่จะต้องให้ แม้ไม่ให้ก็ไม่ผิดกฎหมาย เช่น พ่อแม่ยกทรัพย์สินให้ลูกคนหนึ่งแล้วให้ลูกคนที่เป้นผู้รับเอาไปแบ่งกับพี่น้องคนอื่นๆ แบบนี้ลูกคนที่เป็นผู้รับมีหน้าที่ธรรมจรรยาที่จะต้องแบ่งให้พี่น้องคนอื่นๆ
4.ให้ในการสมรส คือการที่เหล่าพ่อแม่ ญาติ พี่น้อง หรือคนรู้จักให้ทรัพย์สินแก่คู่สมรสในการสมรสนั่นเอง ซึ่งจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »