คลิปเสียง ศาลสามารถรับฟังได้หรือไม่ ?

คลิปเสียง ศาลสามารถรับฟังได้หรือไม่ ?

คลิปเสียง ศาลสามารถรับฟังได้หรือไม่ ?

                     #ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นที่เกี่ยวกับการแอบบันทึกเสียงสนทนามาเล่าให้ฟังครับ  ว่าในกรณีแบบนี้ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้หรือไม่ มาดูกันได้เลยครับ

                    เรื่องนี้มีคู่กรณีคือนาย ก และนายข โจทก์ร่วม ขอให้ลงโทษนางหนึ่ง และนางสอง ตามกฎหมายหรือใช้เงินแทน 100,000 บาท  ซึ่งในศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวันประกอบกับนางเอ(พยาน) ได้พูดเสนอให้เงินคนร้าย 100,000 บาท หากนางเอมองไม่เห็นหน้าจะเจรจาต่อรองกับคนร้ายได้อย่างไร ทั้งไม่ปรากฏว่าคนร้ายทั้งสี่ได้อำพรางใบหน้าแต่อย่างใด เชื่อว่าถ้านางเอเคยเห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อนก็ย่อมจำได้ว่าเป็นใคร นอกจากนี้นาย ก. และนาย ข. ตอบคำถามค้านทนายนางสองว่า หลังจากนางสองถูกดำเนินคดีแล้วนางสองเคยมาพูดคุยกับนาย ก. และนาย ข. เกี่ยวกับคดีจะมีการบันทึกเสียงไว้หรือไม่ นาย ก. และนาย ข. ไม่ทราบ ทนายนางสอง ได้นำเทปบันทึกเสียงพร้อมกับบันทึกการถอดเทปมาประกอบการถามค้านนาย ก. และนาย ข. และอ้างเป็นพยานวัตถุและพยานเอกสาร (เป็นการแอบบันทึกเสียงไม่ให้รู้ตัว)

                    จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในกรณีเจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา แต่อย่างไรก็ตามระหว่างพิจารณาคดีได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา

                      ดังนั้น เทปบันทึกเสียงรวมทั้งบันทึกการถอดเทปดังกล่าวแม้จะได้มาโดยมิชอบ แต่เมื่อศาลนำมาฟังจะเป็นประโยชน์ฯศาลฎีกาจึงนำพยานหลักฐานดังกล่าวมารับฟังได้ เมื่อพิจารณาเนื้อหาจากบันทึกการถอดเทปดังกล่าวได้ใจความว่านาย ก. และนาย ข. ไม่สมัครใจและไม่มีความเป็นอิสระในการชี้ตัวนางสอง จึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่านาย ก. กับ นาย ข. และนางเอพยาน ได้ชี้ภาพถ่ายนางสอง และตัวนางสอง ผิดตัวหรือไม่ พยานหลักฐานของนาย ก. และนาย ข. จึงมีเหตุอันควรแก่การสงสัยตามสมควรว่า นางสองได้กระทำความผิดตามที่นาย ก.ฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นคุณแก่นางสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ฎีกาของนาย ก.และนาย ข. ฟังไม่ขึ้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยพิพากษายืน 

                     กรณีนี้จะเห็นได้ว่า แม้พยานหลักฐานจะได้มาโดยไม่ชอบ คือ การแอบบันทึกเสียงระหว่างการสนทนาให้อีกฝ่ายไม่รู้ตัว แล้วนำคลิปเสียงดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี แต่เมื่อคลิปเสียงดังกล่าวเป็นการแสวงหลักฐานของบุคคลธรรมดา พยานหลักฐานนั้นแม้ไม่ชอบแต่เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา พยานหลักฐานดังกล่าวศาลจึงนำมารับฟังได้ ทั้งนี้แล้วแต่กรณีข้อเท็จจริงประกอบการข้อกฎหมายด้วย

                       (อ้างอิง : ฏ.2281/2555)

รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน

ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »