ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
#ทนายเล่าเรื่อง
ทายาทต้องรู้!!
เป็นทายาทก็ถูกฟ้องเรียกทรัพย์คืนได้
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ ผมมากับคดีมรดกในประเด็นเรื่องการฟ้องเรียกทรัพย์คืนสู่กองมรดก บอกเลยว่า แม้จะเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกก็ตาม ก็สามารถถูกฟ้องเรียกทรัพย์ที่ครอบครองไว้คืนสู่กองมรดกได้ ถ้าใครยังไม่เข้าใจ เราไปดูตัวอย่างกับคดีนี้กันเลยครับ
คดีนี้ นายวันกับนางเดือนได้จดทะเบียนสมรสกันและได้ทำมาหาได้ร่วมกันจนได้ที่ดินมา 4 แปลง หลังจากนั้นจึงได้มีลูกออกมาคนหนึ่งคือ นายปี ซึ่งเวลาผ่านไปจนนายวันล้มป่วยและเสียชีวิตลงในเวลาต่อมาเนื่องจากทำงานหนักทุกวัน นายปีซึ่งเป็นลูกจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของนายวัน โดยมีทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกจำนวน 2 คนก็คือ นางเดือนที่เป็นภรรยา และนายปีที่เป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย จากนั้นศาลจึงตั้งนายปีให้เป็นผู้จัดการมรดกของนายวันและนายปีก็ได้ดำเนินการสืบหาทรัพย์มรดกต่อไป
ซึ่งนายปีทราบว่านายวันมีที่ดินมรดก 4 แปลงโดยนางเดือนเป็นผู้ยึดถือโฉนดเอาไว้ นายปีจึงได้แจ้งไปยังนางเดือนให้ส่งโฉนดทั้งสี่ฉบับมาให้ตนเพื่อที่นายปีจะได้ทำการแบ่งต่อไป แต่นางเดือนไม่ยอมส่งให้โดยอ้างว่าที่ดินเป็นของตนอยู่แล้วจะแบ่งทำไม สุดท้ายไม่ยอมให้ นายปีในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวันจึงฟ้องนางเดือนต่อศาลขอเรียกทรัพย์กลับคืนสู่กองมรดก
นางเดือนก็ได้เข้ามาสู้คดีว่านายปีไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากที่ดินทั้งสี่แปลงเป็นของนางเดือนอยู่แล้ว และนางเดือนก็ยังไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิแก่นายปีเลย จึงขอให้ยกฟ้อง
ผมต้องบอกตรง ๆ ว่าคดีมรดกส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องการทะเลาะกันเรื่องทรัพย์สินนี่แหละครับ ครอบครัวเดียวกันแท้ ๆ เราไปดูกันดีกว่าครับว่าศาลจะตัดสินว่ายังไง
ศาลเห็นว่า นายปีฟ้องคดีในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของนายวัน ซึ่งนายปีมีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้แก่ทายาทของนายวัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 เมื่อนายวันเจ้ามรดกเป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามโฉนดที่ดินทั้งสี่ฉบับกึ่งหนึ่งร่วมกับนางเดือนภรรยาเนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรสของนายวันกับนางเดือน นายปีในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวัน ย่อมมีสิทธิฟ้องนางเดือนซึ่งเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินทั้งสี่ฉบับอันเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกมาแบ่งปันให้แก่ทายาทต่อไป
การที่นายปีฟ้องคดีนี้จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดก ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกมีเพียงสองคนคือนายปีและนางเดือน เมื่อโฉนดทั้งสี่ฉบับอยู่ในความครอบครองของนางเดือนซึ่งไม่ยอมส่งมอบให้นายปี ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของนายปีในฐานะผู้จัดการมรดกแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องนางเดือนได้
อ้างอิง : คำพิพากษาฎีกาที่ 1005/2559
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ