ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
#ทนายเล่าเรื่อง
เมื่อได้รับมรดกที่ดินการให้
ต่อมาได้ ติดต่อเป็นการส่วนตัวกับผู้ให้เพื่อโอนที่ดินส่วนของตน
และได้มีการจดแจ้งครอบครองที่งอกหน้าดิน
ที่งอกที่มีการจดแจ้งจะเป็นของใคร
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกกรณีได้รับมรดกที่ดิน และมีการไปจดทะเบียนการให้ในส่วนที่ได้รับแล้ว แล้วโอนให้บุคคลอื่น รวมทั้งแจ้งการครอบครองที่งอกหน้าที่ดิน ว่าในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาท่านจะวินิจฉัยไว้ว่าอย่างไร ลองมาศึกษาพร้อมกันได้เลยครับ
เรื่องมีอยู่ว่า…นายเอฟ้องว่า มารดานายเอกับนายหนึ่ง ได้รับมรดกที่ดินของน.ส.รวย ต่อมามารดานายเอตาย ที่ดินส่วนมารดานายเอจึงตกเป็นของนายเอ นายสองได้มีหนังสือบอกกล่าวให้นายเอออกจากที่ดิน นายเอไปตรวจดูหลักฐานที่สำนักงานที่ดินจึงทราบว่านายหนึ่งลอบไปขอรับมรดกน.ส.รวยเสียแต่ผู้เดียวแล้วโอนให้นายสองไปในวันเดียวกันโดยไม่สุจริต และนายหนึ่งได้แจ้งการครอบครองที่งอกหน้าที่ดินต่อพนักงานที่ดินโดยปกปิดมิให้มารดานายเอและนายเอทราบ นายเอได้ร้องคัดค้านไว้แล้ว ขอให้ศาลเพิกถอนการโอนที่ดินและการโอนรับมรดกของนายหนึ่ง และให้แบ่งที่ดินอันเป็นมรดกน.ส.รวยรวมทั้งที่งอกหน้าที่ดินให้แก่นายเอครึ่งหนึ่งหรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกัน
นายหนึ่งต่อสู้ว่า ก่อนตายน.ส.รวยได้ยกที่ดินดังกล่าวให้นายหนึ่ง นายหนึ่งได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวรวมทั้งที่งอกมาจนบัดนี้ การโอนรับมรดกและการยกให้ตลอดจนการแจ้งการครอบครอง มารดานายเอกับนายเอทราบและยินยอมไม่คัดค้าน มารดานายเอและนายบี อยู่ในที่ดินตามฟ้องโดยอาศัยนายหนึ่งอยู่ คดีนายเอขาดอายุความมรดกและอายุความฟ้องร้องแล้ว และฟ้องแย้งขอให้ขับไล่
นายบีให้การแก้ฟ้องแย้งว่า น.ส.รวยไม่ได้ยกที่พิพาทให้แก่นายหนึ่ง หากยกให้ก็มิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำพินัยกรรมยกให้ นายหนึ่งไม่ได้ครอบครองเป็นปรปักษ์เกินกว่า 10 ปี ที่ดินมรดกของน.ส.รวยตกทอดได้แก่มารดานายเอกับนายหนึ่ง มารดานายเอตายนายเอได้ครอบครองต่อมา ไม่ได้อาศัยนายหนึ่งอยู่
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนายเอไม่ขาดอายุความ ที่ดินมรดกน.ส.สวยตกได้แก่นายหนึ่งกับมารดานายเอคนละครึ่ง มารดานายเอตายส่วนนั้นจึงตกได้แก่นายเอ ส่วนที่งอกที่นายหนึ่งครอบครอง ได้แยกครอบครองเป็นส่วนสัดโดยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายหนึ่ง พิพากษาว่าการจดทะเบียนรับมรดกที่ดินและจดทะเบียนโอนระหว่างนายหนึ่งและนายสองไม่ผูกพันส่วนของมารดานายเอ ให้แบ่งที่ดินเว้นส่วนที่งอกออกเป็นสองส่วน ให้นายเอกึ่งหนึ่ง หรือให้ประมูลราคาระหว่างกันเองหรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน
ทั้งสองฝ่ายอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า น.ส.รวยได้ยกที่ดินทั้งหมดให้นายหนึ่งจริง และที่งอกริมตลิ่งเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้นพิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องนายเอ,นายบี,นายซีทั้งหมด ให้ขับไล่นายสอง และบริวารให้รื้อเรือนออกไป และห้ามเกี่ยวข้อง
นายเอฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า ที่นายหนึ่งอ้างว่าน.ส.รวยยกที่ดินให้นั้นเพียงพูดด้วยวาจา ไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมายข้อที่นายหนึ่งว่าครอบครองปรปักษ์มาก็รับฟังไม่ได้ ที่ดินมรดกน.ส.รวยจึงตกได้แก่มารดานายเอกับนายหนึ่ง และได้ครอบครองร่วมกันมา เมื่อมารดานายเอตาย นายเอนายบีนายซี ทั้งสามก็ยังอยู่ในที่นั้นต่อมา จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกของมารดาได้แม้จะล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 และการฟ้องคดียังไม่พ้น 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความส่วนที่งอกหน้าที่ดินเชื่อว่าน.ส.รวยยกให้นายหนึ่ง และนายหนึ่งได้ครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปี จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
จะเห็นได้ว่า การยกมรดกโดยการให้ เมื่อเจตนาชัดว่าเจ้ามรดกประสงค์จะให้ใครก็เป็นสิทธิ์ของคนนั้นที่จะได้รับในส่วนของตน และการจดทะเบียนรับมรดกที่ดินและจดทะเบียนโอนระหว่างนายหนึ่งและนายสองไม่ผูกพันส่วนของมารดานายเอเพราะเป็นการโอนให้ในส่วนที่นายหนึ่งได้รับ และในส่วนที่งอกที่นายหนึ่งครอบครอง ได้แยกครอบครองเป็นส่วนสัดโดยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของนายหนึ่ง
( อ้างอิง ฎ.905/2508 )
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ