ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมเอาเรื่องที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีในชั้นศาลหรือก็คือเรื่องวิธีพิจารณาความครับ โดยเรื่องนี้เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่งในกรณีที่พนักงานเดินหมายหรือง่ายๆ ก็คือเจ้าหน้าที่ศาลไปปิดหมายทั้งที่ศาลไม่ได้สั่ง แบบนี้จะทำได้หรือไม่ แล้วผลจะไปอย่างไร ไปดูกันเลยครับ
เรื่องนี้นายเอเป็นโจทก์ฟ้องนายบีเป็นจำเลยต่อศาล ฟ้องว่านายบีกู้เงินนายเอไปแล้วไม่ชำระคืน ขอให้ศาลบังคับให้นายบีชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยคืน ซึ่งเมื่อศาลรับฟ้องก็จะต้องมีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้กับนายบีเพื่อให้นายบีทำคำให้การมาต่อสู้คดี เจ้าพนักงานศาลจึงได้ไปปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้นายบี แต่ปรากฏว่าสุดท้ายนายบีขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้มาฟังการพิจารณาคดีเลยสักครั้ง จนศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายบีชำระเงินตามฟ้อง
ต่อมานายบียื่นคำร้องว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบ นายบีไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณา นายบีจึงขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่ช้าไปเพราะนายบียื่นขอมาเกิน 6 เดือนนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์นายบีแล้ว ศาลเลยสั่งยกคำร้องไป แต่จำเลยก็ยื่นอุทธรณ์นะครับ แต่ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นเลย
สุดท้ายนายบีฎีกาโดยใช้เหตุผลว่านายเอฟ้องคดีโดยไม่สุจริต มีเจตนาที่จะไม่ให้นายบีต่อสู้คดี และการส่งหมายไม่ชอบ ทำให้นายบีไม่รู้เรื่องการถูกฟ้องและถูกยึดทรัพย์ไป ศาลฎีกาพบข้อเท็จจริงในสำนวนว่าศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของนายเอว่า ถ้าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้นายบีไม่ได้ ให้นายเอแถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วันนับแต่วันที่สั่งไม่ได้ โดยที่ไม่ได้มีคำสั่งให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเลย แต่เจ้าพนักงานศาลกลับไปปิดหมายตั้งแต่ครั้งแรกเลย บวกกับมีรายงานของเจ้าหน้าที่ 2 ฉบับ ฉบับแรกบอกว่าปิดหมายไว้ที่บ้านนายบี แต่ฉบับที่ 2 ห่างกันประมาณเดือนนิดๆ กลับบอกว่าส่งหมายให้นายบีไม่ได้เพราะนายบีย้ายไปแล้ว แบบนี้การส่งหมายเรียกให้นายบีจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 ถือว่าศาลยังไม่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้นายบี
ดังนั้นกระบวนการตั้งแต่การส่งหมายเรียกให้นายบีและกระบวนพิจารณาในศาลหลังจากนั้นจนถึงการยึดทรัพย์จึงไม่ชอบและไม่มีผลทางกฎหมายใดๆ ต้องให้ศาลชั้นต้นเริ่มส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้นายบีใหม่ตั้งแต่ต้นแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่อีกรอบครับ
กรณีนี้ก็จะเห็นว่าเจ้าหน้าที่ศาลทำเกินที่ศาลสั่งทีเดียว มีผลทำให้พังทั้งคดีเลย แล้วก็ไม่รู้นะครับว่าโจทก์นี้คดีนี้จะไปเรียกค่าเสียหายอะไรกับเจ้าหน้าที่หรือเปล่า เพราะโจทก์น่าจะเสียหายน่าดูเลยล่ะครับ
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ