ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
การขับไล่ของบุคคลที่อยู่ในที่ดินหรือทรัพย์ของตนตามกฎหมายได้คือ การตั้งเรื่องในลักษณะการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาขับไล่และอาจมีการเรียกค่าเสียหายในการอยู่ในทรัพย์ของตนได้ลักษณะเป็นทรัพย์ที่อาจเช่าได้เป็นรายเดือนจนกว่าจำเลยจะออกจากที่ดินหรือทรัพย์ของตนได้ แต่ที่ดินหรือทรัพย์ที่มีการได้มาจากการขายทอดตลาดตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลนั้น ผู้ซื้อทรัพย์มีวิธีการขับไล่ต่างไปจากกรณีปกติดังนี้
เมื่อซื้อทรัพย์อสังหาริมทรัพย์(เช่นที่ดิน,บ้านพร้อมที่ดินหรือคอนโดฯลฯ)จากการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี หากปรากฏว่าหลังจากได้โอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวปรากฎว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารของลูกหนี้ยังคงอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว กฎหมายได้กำหนดขั้นตอนดำเนินการขับไล่ไว้เป็นพิเศษโดยไม่ต้องดำเนินการฟ้องคดีโดยมีขั้นตอนการดำเนินการตามลำดับดังต่อไปนี้
ตามที่กล่าวมาเป็นกรณีขับไล่พิเศษเพื่อเป็นการให้ความสะดวกและจูงใจให้มีการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในการบังคับคดี จึงเป็นเหตุที่อาจทำให้การขายทอดตลาดในปัจจุบันมีความน่าสนใจมากขึ้น นอกจากในเรื่องของราคาที่ถูกพอสมควร
โดยนอกจากผู้ซื้อทรัพย์จะสามารถขอให้ขับไล่ได้ในกรณีพิเศษนี้ ผู้ซื้อทรัพย์สามารถเรียกค่าเสียหายจากการที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ของตนได้ แต่ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเป้นคดีใหม่ต่างหากจากการร้องขอขับไล่ตามกรณีพิเศษนี้ (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 5997/2555)
แต่หากทรัพย์ที่ซื้อนั้น มีบุคคลใดอยู่โดยที่บุคคลนั้นไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว การดำเนินการขับไล่คงต้องเป็นการดำเนินการในลักษณะทางคดีคือการฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายไป เหมือนกรณีทั่วไปที่ขับไล่ผู้ที่อยู่ในทรัพย์ของตน
ขอบคุณที่ติดตาม และหากบทความนี้มีประโยชน์แก่บุคคลใดโปรดแชร์เพื่อเป็นความรู้ต่อไป
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ