พนักงานทุจริต นายจ้างทำอย่างไร

เมื่อพบว่า พนักงานทุจริต
นายจ้างต้องทำอย่างไรได้บ้าง
มีกฎหมายใดที่ให้ความคุ้มครองนายจ้างในเรื่องนี้
เมื่อความผิดเกิดจากพนักงานที่ทำให้นายจ้างต้องเสียหาย

พนักงานทุจริต นายจ้างทำอย่างไร

พนักงานทุจริต นายจ้างทำอย่างไร

                พนักงานทุจริต คำว่า ทุจริต หมายถึง ประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดี ไม่ซื่อตรง โกง คดโกง ฉ้อโกง โดยใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ พนักงานทุจริตต่อหน้าที่ จึงหมายถึงการแสวงหาผลประโยชน์จากหน้าที่ของตนเองโดยไม่ชอบไว้สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยประการต่างๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พศ.2541 มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

                การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

               โดยอาศัยเหตุดังกล่าวข้างต้นเมื่อพบพนักงานทุจริตไม่ว่าจะเป็นทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง ทำร้ายร่างกาย หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้น หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เช่น ขับรถในทางที่จ้างแล้วหลับใน รถสินค้าประสบอุบัติเหตุ หรือฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง เช่น นายจ้างมีแบบให้ทำตามแบบปรากฎว่า ลูกจ้างเปลี่ยนดีไซด์เองเพราะคิดว่าความคิดตัวเองดีกว่า โดยไม่แจ้งให้ทราบ หรือเหตุกรณีอื่นๆตามมาตรา 119 โดยนายจ้างต้องทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ก่อนตามมาตรา 116 และนายจ้างสามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 โดยนายจ้างต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »