ฟ้องหมิ่นประมาท ทำอย่างไร ?

เราจะ ฟ้องหมิ่นประมาท ได้ อย่างแรกสิ่งที่เราถูกกระทำจะต้องครบองค์ประกอบฐานหมิ่นประมาทก่อนครับ เพราะฉะนั้นเรามาดูความผิดฐานหมิ่นประมาทกันก่อนเลยดีกว่าครับว่า ความผิดฐานนี้มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ฟ้องหมิ่นประมาท ทำอย่างไร ?

                   ทุกวันนี้ Social Media แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คนไปแล้ว ทำให้คนเรากล้าพูดมากขึ้นผ่านการพิมพ์โต้ตอบกัน ซึ่งความกล้านี้นี่แหละที่น่ากลัวครับเพราะมันทำให้คนเราลดระดับความระมัดระวังในการใช้คำพูด ซึ่งนี่แหละครับ ทำให้ใครหลายคนถูกหมิ่นประมาท ถ้าใครกำลังสงสัยว่าเราโดนพิมพ์มาแบบนี้เป็นหมิ่นประมาทหรือเปล่า จะฟ้องหมิ่นประมาทได้หรือเปล่า วันนี้เรามีคำตอบให้คุณครับ

ความผิดฐานหมิ่นประมาท

                    เราจะฟ้องหมิ่นประมาทได้ อย่างแรกสิ่งที่เราถูกกระทำจะต้องครบองค์ประกอบฐานหมิ่นประมาทก่อนครับ เพราะฉะนั้นเรามาดูความผิดฐานหมิ่นประมาทกันก่อนเลยดีกว่าครับว่า ความผิดฐานนี้มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

องค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาท

                    ความผิดฐานหมิ่นประมาท ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท…”  โดยเราสามารถแยกองค์ประกอบความผิดฐานนี้ได้ 4 ประการ ดังนี้ครับ

                      1.ใส่ความ

                      คือ การแสดงพฤติการณ์หรือการยืนยันข้อเท็จจริงหรือการแสดงความเห็นถึงบุคคลอื่น

ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือเท็จ ซึ่งเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตหรือกำลังเกิดขึ้นหรือดำเนินอยู่ในปัจจุบันด้วย

          สิ่งที่ไม่ถือเป็นการใส่ความ ตัวอย่างเช่นเช่น กล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ด่าว่าเป็นสัตว์ ซึ่งคนไม่มีทางกลายเป็นสัตว์ได้ หรือเป็นการกล่าวด้วยความน้อยใจหรือตัดพ้อ

          ข้อเท็จจริงที่พบได้บ่อยและถ้าเป็นการกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังต่อไปนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นหมิ่นประมาทครับ ได้แก่

          (1) เกี่ยวกับความประพฤติชั่วหรือทุจริต เช่น รับสินบน, เป็นคนขายชาติ เป็นต้น

          (2) เกี่ยวกับความประพฤติเสื่อมเสียในทางประเวณี เช่น บ้ากาม, เป็นกะหรี่, ขายตัว, เป็นเมียน้อย เป็นต้น

          (3) เกี่ยวกับหน้าที่การงาน เช่น ข้าราชการทุจริตโกงกินงบประมาณ, ใช้อำนาจในทางที่ผิด เป็นต้น

          (4) เกี่ยวกับฐานะทางการเงิน เช่น ออกเช็คแล้วเช็คเด้ง ไม่มีเงินใช้หนี้, กู้เงินมาแต่ไม่ยอมจ่ายให้เจ้าหนี้สักราย เป็นต้น

                   2.ผู้อื่น

                  คือผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั่นเอง ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรื

นิติบุคลก็ได้ครับ ซึ่งจะต้องมีชีวิตอยู่และระบุเจาะจงตัวได้ด้วย ได้ถ้าระบุไม่ได้ก็เท่ากับไม่มีผู้เสียหายนั่นเอง ถ้ากล่าวรวมๆ คนในกลุ่มใหญ่ ไม่สามารถระบุเจาะจงได้ว่าคนไหนในกลุ่ม ก็ไม่เป็นหมิ่นประมาทครับ แต่ถ้ากล่าวถึงกลุ่มคนเล็กๆ เช่น ไม่เกิน 10 คน ก็อาจะถือว่าเป็นการหมิ่นประมาททุกคนในกลุ่มนั้นเลยก็ได้ 

                   3.ต่อบุคคลที่สาม

                 คือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ถูกใส่ความ ง่ายๆ เหมือนเอาเรื่องของอีกคนไปเล่าให้อีกคนฟังนั่น

แหละครับ โดยความผิดจะสำเร็จก็ต่อเมื่อบุคคลที่สามได้ทราบข้อความจากผู้ใส่ความครับ

                 4.โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

               คือเราต้องดูว่าการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามนั้น ตามความรู้สึกของบุคคลธรรมดา

ทั่วไปที่มาได้ยินเขามองกับเรื่องที่ใส่ความยังไง ถ้ามองว่าน่าจะทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง การใส่ความนั้นก็เป็นหมิ่นประมาทครับ

ฟ้องหมิ่นประมาท จำเลยจะได้รับโทษอย่างไร ?

               กฎหมายตามมาตรา 326 ความผิดฐานหมิ่นประมาททั่วไป ผู้กระทำจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ

แต่ถ้าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ง่ายๆ ก็คือโพสต์ประจานลง Social Media นั่นแหละครับโทษมันก็จะหนักขึ้น คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทครับ

ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ถูกหมิ่นประมาทได้

                แม้การฟ้องคดีหมิ่นประมาทจะเป็นการฟ้องคดีอาญา แต่เราสามารถเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้เพราะถ้าผู้เสียหายได้รับกระทบกับชื่อเสียงเกียรติคุณหรือทางทำมาหาได้ของผู้เสียหายก็ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดอย่างหนึ่ง ผู้เสียหายจึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายทางละเมิดได้ด้วย ก็คือจะกลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา 

                ถ้าศาลพิจารณาว่าจำเลยผิดจริง ศาลก็จะมาพิจารณาในส่วนแพ่งว่าผู้ถูกหมิ่นประมาทควรได้รับค่าเสียหายเท่าไหร่ ซึ่งในการฟ้องคดีหมิ่นประมาท เราก็จะต้องบรรยายทั้งองค์ประกอบตามกฎหมายอาญา และเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งไปว่า เรามีชื่อเสียงอะไรยังไง การกระทำของจำเลยทำให้เราเสียชื่อเสียงอย่างไร และเราขอคิดค่าเสียหายเท่าไหร่ ก็ว่าไปครับ จากนั้นศาลก็จะพิจารณาค่าเสียหายให้เราครับ

ฟ้องหมิ่นประมาทได้ที่ศาลไหนบ้าง?

                โดยหลักแล้วความผิดอาญา ผู้เสียหายจะต้องฟ้องต่อศาลที่ความผิดเกิดขึ้นครับ กรณีนี้ถ้าความผิดสำเร็จที่ไหน ผู้เสียหายก็ต้องไปฟ้องจำเลยต่อศาลที่ความผิดเกิดครับ แต่ถ้าจำเลยมีที่อยู่ ถูกจับ หรือถูกสอบสวนนอกเขตศาลที่ความผิดเกิดก็สามารถฟ้องในเขตเหล่านี้ได้เช่นกันครับ

                 แต่ถ้าคดีนั้นเป็นคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ก็จะมีความพิเศษครับ เพราะเราต้องดูว่าการโฆษณานั้นประชาชนในพื้นที่ไหนอาจทราบข้อเท็จจริงที่เป็นการใส่ความได้บ้าง ยิ่งถ้าการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณานั้นกระทำลงโดยการโพสต์ลง Social Media ด้วยแล้ว ไม่ว่าใครจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทราบข้อความที่ใส่ความได้ แบบนี้กฎหมายถือว่าความผิดเกิดทั่วราชอาณาจักรครับ ผู้เสียหายส่วนใหญ่ก็มักจะฟ้องต่อศาลที่ตนสะดวกนั่นเอง 

Info - ประจานแบบไหน ฟ้องหมิ่นประมาทได้

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »