ฟ้องหย่าชาวต่างชาติในศาลไทย มีขั้นตอนอย่างไร

คนไทยและชาวต่างชาติมีการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย
ต่อมาคนไทยต้องการหย่าขาดจากชาวต่างชาติ
สามารถฟ้องหย่าในศาลไทยได้หรือไม่ อย่างไร

ฟ้องหย่าชาวต่างชาติในศาลไทย มีขั้นตอนอย่างไร

            ถ้าหากหญิงหรือชายไทยต้องการจดทะเบียนสมรสกับหญิงหรือชายชาวต่างประเทศในประเทศไทยตามกฎหมายไทย เมื่อจดทะเบียนสมรสและอยู่กินฉันสามีภริยาแล้ว ต่อมามีเหตุให้ฟ้องหย่าต่อกันไม่ว่าจะเป็น ไม่ได้อยู่ด้วยกันมาเป็นเวลาเกิน 3 ปี หรืออื่นๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 การฟ้องหย่าชาวต่างชาติในศาลไทยยังต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 อีกด้วย เช่น ตามมาตรา 27 ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยา ทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ วรรคสอง เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า

ขั้นตอนการฟ้องหย่าชาวต่างชาติ

            ในทางกฎหมาย เมื่อชายหญิงจดทะเบียนสมรสกัน ทั้งสองก็จะถูกยกระดับสถานะทางกฎหมายขึ้นเป็นสามีภรรยา ซึ่งกฎหมายก็คุ้มครองไม่ให้มีมือที่สามเข้ามาแทรกตรงกลาง หากมีมือที่สามเข้ามาแทรกกลางระหว่างความสัมพันธ์ที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ชู้” กฎหมายก็บัญญัติรับรองให้ฝ่ายที่ถูกนอกใจสามารถฟ้องชู้ได้ เช่น สามีมีชู้ ภรรยามีสิทธิฟ้องชู้ได้ หรือกลับกัน ภรรยามีชู้ สามีก็ฟ้องชู้คนนั้นได้เช่นกัน โดยกฎหมายเรื่องการฟ้องชู้จะมีกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรค 2 ครับ

1.ให้เล่าข้อเท็จจริง มูลเหตุแห่งการฟ้องหย่า ว่าเป็นเหตุแห่งการหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 หรือไม่ ถ้าใช่ แล้วต้องการว่าจ้างทนายฟ้องหย่าให้นัดทนายนำเอกสารมาคุยแนวทางคดี

2. ในการเตรียมการฟ้องหย่าชาวต่างชาติ ทางทีมทนายจะขอดูเอกสารที่ขาดไม่ได้ คือ ใบสำคัญสมรส ,หนังสือที่สถานทูตรับรอง(ถ้ามี) ,เอกสารพาสปอร์ต และที่อยู่ในต่างประเทศของอีกฝ่าย และทีมทนายจะพิจารณาต้นเหตุแห่งการฟ้องหย่าว่าทั้งสองฝ่ายพักอาศัยอยู่ด้วยกันที่ไหน หรืออีกฝ่ายได้กระทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างไรตามข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณาว่าสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด

3. เมื่อทีมทนายเตรียมเอกสารสำหรับยื่นฟ้องหย่าชาวต่างชาติ ยื่นฟ้องศาลแล้ว ศาลจะให้รอคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลมีคำสั่งรับฟ้องแล้วจะมีคำสั่งให้แปลเอกสารดังกล่าวตามระเบียบ และต้องดูว่าใช้วิธีส่งหมายใด กล่าวคือ ส่งผ่านสำนักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงการต่างประเทศ หรือวิธีการส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ กรณีนัดวันเพื่อส่งหมายหรือคำคู่ความไปต่างประเทศ ควรใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยเจ้าหน้าที่งานรับฟ้องจะพิจารณาว่าจะส่งหมายไปที่ประเทศใด โดยวิธีการใด และจะให้เลือกวันสำหรับขึ้นศาลครั้งต่อไปในนัดหน้า

4. ทางทีมทนายจะแจ้ง และอัพเดทวันขึ้นศาลนัดหน้า เพื่อนัดเตรียมพยาน ถ้าข้อเท็จจริงตามฟ้อง สามารถพิสูจน์เหตุแห่งการฟ้องหย่าได้ ไม่ว่าในวันสืบพยานคู่ความอีกฝ่ายจะมาสู้คดีหรือไม่ ศาลจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมาย และหากเห็นสมควรให้ความสสัมพันธ์ฉันสามีภริยาสิ้นสุดลง ให้นำคำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไปจดทะเบียนหย่าแต่ฝ่ายเดียวได้ที่เขต/อำเภอในประเทศไทย

           การฟ้องหย่าชาวต่างชาติ จะมีขั้นตอนการส่งคำคู่ความหรือส่งหมายที่จะแตกต่างจากการฟ้องหย่าตามปกติ ซึ่งจะมีขั้นตอนและละเอียดเรื่องเอกสารค่อนข้างเยอะ และต้องใช้เวลา หากต้องการฟ้องหย่าชาวต่างชาติแนะนำให้เล่าข้อเท็จจริงและเตรียมเอกสารสำหรับฟ้องหย่าแต่เนิ่นๆ เพราะต้องใช้เวลา 8 เดือน ถึง 1 ปีหรือกว่านั้น แล้วแต่ว่าส่งคำคู่ความหรือหมายโดยวิธีไหนครับ

Info - ฟ้องหย่าชาวต่างชาติในศาลไทย มีขั้นตอนอย่างไร

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »