สามีมีเมียน้อย ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีได้เท่าไหร่

ถ้าสามีรักเดียวใจเดียว จะไม่มีเมียน้อย เมื่อคนของเราก็ผิดเช่นกันนอกจาก เรียกค่าทดแทน จากเมียน้อยก็ยัง เรียกค่าทดแทนจากสามีได้เช่นกัน

สามีมีเมียน้อย ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีได้เท่าไหร่

                  “ผัวเดียวเมียเดียว” แต่ทำไปทำมากลายเป็น “ผัวเดียวหลายเมีย” ไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากให้ผัวมีเมียน้อย แอบมีชู้ หรือยกย่องหญิงอื่นออกนอกหน้า แล้วมาให้เราซึ่งเป็นเมียหรือภริยาถูกต้องตามกฎหมายต้องยอมหรอก เพราะแค่คิดจะนอกใจ หรือทั้งนอกใจนอกกาย เยื้อใยที่มีต่อกันมันถูกแทนที่ด้วยความไม่ซื่อสัตย์แล้ว ไม่มีอะไรเหมือนเดิมหรอก แล้วทำอย่างไรเมื่อสามีมีเมียน้อย

                ถ้าสามีหรือภริยายินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายกระทำตามมาตรา 1516 (1) “สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้” หรือ 1516 (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่… โดยตามมาตรา 1517 ฝ่ายที่รู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ และสามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้

                  โดยมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ความจริง มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ ตามมาตรา 1529 เว้นแต่จะเป็นการกระทำต่อเนื่องตลอดมา ส่วนในเรื่องภริยาเรียกค่าทดแทนจากสามี แม้ภริยาจะทราบว่าหญิงอื่นนั้นที่สามีอุปการะเลี้ยงดูฉันภริยาทำละเมิดต่อตนเกินหนึ่งปีก็ตามก็ยังไม่ขาดอายุความ เพราะเหตุแห่งการฟ้องหย่ามาจากเหตุสามียกย่องหญิงอื่น ดังนั้นภริยามีสิทธิฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากบุคคลทั้งสองได้ ตามมาตรา 1523 วรรคแรก

สามีมีเมียน้อย ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีได้เท่าไหร่

                การกำหนดเงินค่าทดแทน ว่าสามารถเรียกได้เท่าไหร่ ต้องดูหลายๆปัจจัย ตามสมควรแก่พฤติการณ์ โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระก็ได้ โดยคำนึงถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่าด้วย ฐานานุรูปของภริยา ภริยาเป็นบุคคลมีชื่อเสียงเพียงใด ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงหรือไม่ หรือได้รับความเสียหายหรือความเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ เหตุแห่งสามีอุปการะหญิงอื่น มีบุตรร่วมกันหรือไม่ จดทะเบียนสมรสกันมานานเท่าไหร่แล้ว หรือกรณีอื่นๆตามพฤติการณ์ โดยศาลมักนำมาวินิจฉัย ในการกำหนดค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2498/2552

              ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1525 วรรคหนึ่ง การกำหนดค่าทดแทน กรณีศาลพิพากษาให้หย่ากัน เพราะเหตุสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามีเป็นชู้ หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากหญิงอื่นหรือชู้ ตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นงวดๆ มีกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้ และวรรคสองบัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้จะต้องชำระค่าทดแทนเป็นคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลคำนึงถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่านั้นด้วย เมื่อโจทก์เรียกค่าทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสเป็นเงิน 5,000,000 บาท โดยมิได้แสดงพฤติการณ์พิเศษให้เห็นว่าเพราะเหตุใดโจทก์จึงควรได้ค่าทดแทนจำนวนดังกล่าว ศาลจึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงฐานานุรูปของโจทก์ จำเลยและพฤติการณ์แห่งคดี อีกทั้งทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับจากการแบ่งสินสมรสตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองตามบทบัญญัติมาตรา 1525 ดังกล่าว ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนเพราะเหตุจำเลยอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันภริยาเป็นเงิน 500,000 บาท นับว่าเหมาะสมตามควรแก่พฤติการณ์แล้วไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะกำหนดค่าทดแทนให้มากไปกว่านี้

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »