มอบอำนาจ

การทำหนังสือมอบอำนาจ

บุคคลแต่ละคนย่อมมีอำนาจหน้าที่เฉพาะตนที่แตกต่างกันไป ซึ่งในบางครั้งบุคคลนั้นๆ ก็ไม่อาจดำเนินการใช้อำนาจตามหน้าที่นั้นได้ด้วยตนเองโดยตลอด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการให้บุคคลอื่นกระทำการแทน โดยสามารถทำได้ด้วยการ “มอบอำนาจ” หรือ “มอบฉันทะ” ซึ่งการมอบอำนาจ หมายความว่า มอบหมายให้มีอำนาจจัดการหรือทำการแทน ส่วนการมอบฉันทะ หมายความว่า มอบธุระไว้ด้วยความไว้วางใจ, ยินยอมให้ทำแทนโดยมีหลักฐาน

มอบอำนาจ มอบฉันทะ

ความแตกต่างระหว่างการมอบอำนาจกับการมอบฉันทะ อยู่ตรงที่ การมอบอำนาจนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจของบุคคลหนึ่งที่มอบหมายให้บุคคลหนึ่งกระทำการตามอำนาจของตนตามกฎหมาย เช่น มอบอำนาจให้รับชำระหนี้แทน มอบอำนาจให้โอน ให้ขาย เป็นต้น

การมอบฉันทะจะเป็นเรื่องขอ การมอบหมายโดยไว้วางใจกันปกติไม่เกี่ยวข้อกับกฎหมาย เช่น ทนายความมอบฉันทะให้เสมียนทนายความไปยื่นเอกสารให้แก่ศาลแทนตน ซึ่งเสมียนทนายความมิได้มีอำนาจในการลงลายมือชื่อแทนทนายความในเอกสาร แต่สามารถลงลายมือชื่อเพื่อรับทราบคำสั่งแทนได้

มอบอำนาจ ตามกฎหมายมาตรา 797

การมอบอำนาจนั้นใช้หลักในเรื่องของตัวแทน ซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 ซึ่งเป็นการที่บุคคลใดมีอำนาจตามกฎหมายเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยชอบ และเจตนาที่จะมอบอำนาจดังกล่าวนั้นให้บุคคลใดเป็นผู้ใช้อำนาจแทนตนเป็นการเฉพาะเรื่อง หรือเป็นการทั่วไปภายในขอบเขตอำนาจที่ผู้มีอำนาจนั้นมี ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

โดยกฎหมายได้กล่าวไว้ 2 กรณี คือ การมอบอำนาจเฉพาะการ คือ ตัวการให้ตัวแทนกระทำแต่เพียงสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้ภารกิจสำเร็จลุล่วงไป
การมอบอำนาจทั่วไป คือ ตัวการให้ตัวแทนกระทำในกิจใด ๆ ในทางการจัดการแทนตัวการได้ทุกอย่าง ซึ่งมีข้อยกเว้นตามมาตรา 801 หากตัวการมีความประสงค์ที่จะมอบอำนาจใด ๆ ที่อยู่ในข้อยกเว้นตามาตรา 801 จะต้องระบุให้ชัดแจ้งว่าให้อำนาจใดบ้าง

กฎหมายมาตรา 801

การมอบอำนาจมิได้จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด เช่น หากเราเปิดร้านอาหารขนาดกลาง จ้างพนักงานเก็บเงิน จ้างพนักงานรับลูกค้า ถือเป็นการมอบอำนาจให้พนักงานแต่ละคนมีอำนาจหน้าที่แทนตัวเจ้าของร้านตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจระหว่างกัน

แต่หากการใด ๆ ที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจจะต้องทำเป็นหนังสือด้วย ตามมาตรา 798 เช่น มอบอำนาจให้ปล่อยสินเชื่อ มอบอำนาจให้ขายรถยนต์

โครงสร้างหนังสือมอบอำนาจ

  • วันที่มอบอำนาจ
  • ชื่อและรายละเอียดผู้มอบอำนาจ
  • ชื่อและรายละเอียดของผู้รับมอบอำนาจ
  • การใดที่ให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจ
  • มีข้อความไปในทางที่รับว่าผู้มอบจะรับผิดต่อการกระทำของผู้รับมอบอันได้ทำไปในทางที่มอบอำนาจ
  • ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ, ผู้รับมอบอำนาจ, และพยานอย่างน้อย 1 คน
  • หากผู้มอบอำนาจใช้การพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงชื่อ จะต้องมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
  • ในการมอบอำนาจหากมีการ ลบ ขีด ฆ่า แก้ไขข้อความใด ๆ จะต้องมีลายมือชื่อของผู้มอบกำกับไว้ทุกจุดที่แก้ไข

นอกจากนี้แล้วยังต้องมีการติดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 104 ซึ่งกำหนดให้ผู้มอบอำนาจต้องปิดอากรแสตมป์ 3 กรณีคือ

  1. มอบอำนาจให้บุคคลเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว เสียค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
  2. มอบอำนาจให้บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว เสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
  3. มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจ คนละ 30 บาท

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »