ผลของเจ้าหนี้ที่ยึดถือโฉนดไว้เป็นประกันหนี้

ผลจะเป็นอย่างไร

เมื่อเจ้าหนี้ยึดโฉนดไว้เป็นประกัน!!

ผลของเจ้าหนี้ที่ยึดถือโฉนดไว้เป็นประกันหนี้

           สัญญากู้เงินเป็นสัญญาที่พบได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวันซึ่งการที่เจ้าหนี้จะให้กู้ได้นั้นเจ้าหนี้ก็จะต้องแน่ใจว่าผู้ที่มาขอกู้มีความสามารถที่จะจ่ายคืนได้ แต่สำหรับในทางปฏิบัติหลาย ๆ กรณี เจ้าหนี้ก็มักจะขอทรัพย์สินบางอย่างจากผู้กู้มาเป็นประกันไว้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ ซึ่งวันนี้แหละครับผมจะมาอธิบายให้ฟังว่า การที่เจ้าหนี้ยึดถือทรัพย์สินซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นโฉนดที่ดินเอาไว้เป็นประกันการชำระหนี้นั้นจะมีผลเป็นอย่างไรทั้งต่อตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้

ทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนี้

          การนำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนี้ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างเป็นโฉนดที่ดินเพื่อให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายนะครับ โดยการประกันหนี้โดยนำโฉนดที่ดินมาเป็นประกันนั้นสามารถทำได้ใน 2 กรณีคือ การนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองไว้ และอีกวิธีคือการมอบโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าหนี้ ยึดถือเอาไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เราจะคุยกันในวันนี้ครับ

การให้โฉนดแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันหนี้

           การที่ลูกหนี้ไปกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้แล้วนำโฉนดที่ดินไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้ก่อนเพื่อเป็นประกันหนี้นั้น การมอบโฉนดดังกล่าวเป็นวิธีการประกันหนี้ที่ค่อนข้างจะง่ายดายเลย แค่มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือก็จบ ไม่ต้องมีการทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เหมือนการจำนอง
           โดยการให้เจ้าหนี้ยึดถือโฉนดไว้แบบนี้ก็เหมือนกับการที่เราสัญญากับเจ้าหนี้ว่าจะไม่นำที่ดินหรือทรัพย์สินที่เรามีไปขายนะ ซึ่งฝ่ายเจ้าหนี้ก็สบายใจได้ว่าลูกหนี้จะไม่เอาทรัพย์สินที่มีไปขายซึ่งทำให้เจ้าหนี้ยังมีทรัพย์สินที่สามารถบังคับเอาได้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั่นเอง

ผลของการที่เจ้าหนี้ยึดถือโฉนดไว้

          เมื่อการที่ลูกหนี้ให้เจ้าหนี้ยึดถือโฉนดที่ดินของตนไว้เป็นการสัญญาอย่างหนึ่งว่า ลูกหนี้จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จนครบถ้วน หากลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดถือโฉนดไว้จนกว่าจะชำระได้ ดังนั้น การที่ลูกหนี้ให้เจ้าหนี้ยึดถือโฉนดเอาไว้จึงผูกพันเป็นสัญญากันอีกสัญญาหนึ่ง ลูกหนี้จึงไม่มีสิทธิขอโฉนดคืนจนกว่าจะได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วน
         แต่แน่นอนว่าการการประกันหนี้กรณีนี้ไม่เหมือนกับจำนอง ดังนั้น เจ้าหนี้จึงไม่สามารถฟ้องบังคับจำนองกับโฉนดที่ดินที่ตนยึดถือไว้ได้โดยตรง แต่จะต้องฟ้องตามสัญญากู้ยืมเงิน หากศาลพิพากษาให้ลูกหนี้จ่าย แล้วลูกหนี้ไม่ยอมจ่าย เจ้าหนี้จึงค่อยไปตั้งเรื่องบังคับคดีเอากับที่ดินของลูกหนี้ครับ

กรณีที่เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดถือโฉนดได้ต่อไป

        การที่เจ้าหนี้สามารถยึดถือโฉนดที่ดินนั้นไว้ได้ก็เป็นไปตามสัญญากู้ที่กู้กัน ดังนั้น เจ้าหนี้จะไม่สามารถยึดถือโฉนดไว้ได้ในกรณีที่หนี้ตามสัญญากู้หมดไป คือ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้จนครบ เจ้าหนี้จึงต้องคืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ หรือกรณีที่หนี้กู้ยืมขาดอายุความ หรือหนี้กู้ยืมที่ไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ กรณีเหล่านี้ เจ้าหนี้จะไม่สามารถยึดถือโฉนดที่ดินของลูกหนี้ไว้ได้ครับ
        แต่ตามตัวอย่างด้านบน ถ้าเราไปเรียกคืน ยังไงๆ เจ้าหนี้ก็ไม่คืนให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วครับ ดังนั้น จึงควรนำเรื่องมาปรึกษาทนายความและใช้สิทธิทางศาลจะดีที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งครับ

         ข้อสังเกต : ควรระวังกรณีที่ลูกหนี้ให้เรายึดถือโฉนดไว้ คือ ลูกหนี้ให้เรายึดโฉนดไว้จริง แต่ลูกหนี้ก็อาจไปแจ้งความว่าโฉนดหาย แล้วไปขอออกใบแทนโฉนดดังกล่าว แล้วนำใบแทนนั้นไปทำนิติกรรมอื่นต่อ แบบนี้ถ้าเรารู้ เราสามารถฟ้องเพิกถอนได้

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »