ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
เรื่องลิขสิทธิ์ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคน แค่เพลงในปัจจุบันก็เป็นเรื่องใหญ่แล้วใช่มั้ยล่ะครับ ที่มีการถกเถียงเรื่องลิขสิทธิ์กันตลอดเวลา ไหนจะภาพยนตร์ หนังสือ งานศิลปะ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ทั้งนั้น ผมเลยจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เป็นซีรีส์ #CopyrightTheSeries โดยตลอดซีรีส์นี้ทุกคนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ที่ทุกคนควรรู้ครับ
สำหรับวันนี้เป็น EP.1 เรื่อง ลิขสิทธิ์คืออะไร? เป็นเหมือนบทนำที่ทุกคนจะต้องรู้ก่อน ไม่อย่างงั้นใน ep หน้าอาจจะไม่เข้าใจก็ได้ครับ เราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
เรามาเริ่มทำความรู้จักกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” กันก่อนเลยครับ ลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติ
ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ก็คือลิขสิทธิ์ก็คือ สิทธิอย่างหนึ่งตาม
กฎหมายที่เกิดขึ้นจากงานบางอย่างที่ผู้สร้างสรรค์ทำขึ้น และกฎหมายมุ่งคุ้มครองงานนั้น
โดยงานที่จะมีลิขสิทธิ์ได้นั้น จะต้องเข้าองค์ประกอบของงานที่กฎหมายคุ้มครองด้วยครับ การจะเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ได้นั้น จะต้องเข้าองค์ประกอบ 4 ประการครับ
1. เป็นงานที่กฎหมายยอมรับ โดยงานที่กฎหมายยอมรับนั้นมีอยู่ด้วยกัน 9 ประเภทครับ
1.1 วรรณกรรม คืองานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ สิ่งเขียน หรือสิ่งพิมพ์ เป็นต้น แต่ก็ยังรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยครับ
1.2 นาฏกรรม คือ การรำ การเต้น หรือการแสดงที่เป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงด้วยวิธีใบ้ด้วย
1.3 ศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ภาพเขียน รูปปั้น รูปแกะสลัก ภาพพิมพ์ งานออกแบบต่างๆ ภาพถ่าย แบบจำลองต่างๆ เป็นต้น ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายของงานดังที่กล่าวมาด้วยครับ
1.4 ดนตรีกรรม คือเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือร้อง ซึ่งอาจจะมีเนื้อร้องด้วย หรือมีทำนองอย่างเดียวก็ได้ ซึ่งจะรวมถึงตัวโน้ตเพลงและแผนภูมิเพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานแล้วด้วยครับ แต่ถ้าเป็นแค่เนื้อเพลงอย่างเดียวไม่มีทำนอง ก็จะจัดอยู่ในงานวรรณกรรมครับ คือดนตรีกรรมจะต้องมีทำนองเข้ามาเกี่ยวด้วยนั่นเอง
1.5 สิ่งบันทึกเสียง คือ ดนตรี เสียง หรือการแสดงใดๆ ที่ถูกบันทึกลงในวัสดุที่สามารถนำมาเล่นซ้ำได้ เช่น แผ่นเสียง เทปเพลง ซีดี ดีวีดี หรือไฟล์ mp3
1.6 โสตทัศนวัสดุ คืองานที่มีทั้งภาพและเสียงที่ถูกบันทึกไว้โดยสามารถนำมาเล่นซ้ำได้ เช่น หนังที่บันทึกในแผ่นซีดี หรือคลิปบน Youtube เป็นต้น
1.7 ภาพยนตร์ คือโสตทัศนะวัสดุอย่างหนึ่งที่มีทั้งภาพและเสียง ซึ่งสามารถฉายได้อย่างต่อเนื่องแบบภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ครับ
1.8 งานแพร่เสียงแพร่ภาพ คือจะต้องมีการแพร่เสียงหรือภาพ หรือทั้งเสียงและภาพออกไปทางเครื่องส่งสัญญาณไปยังเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับสัญญาณนั้นได้ เอาง่ายๆ ก็คือพวกการถ่ายทอดสดต่างๆ
1.9 งานอื่นๆ ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
2. เป็นการแสดงออกซึ่งความคิด คือ ทุกคนล้วนแล้วแต่มีความคิด แต่ที่จะเป็นลิขสิทธิ์ได้มันจะต้องเป็นการแสดงออกซึ่งความคิด หรือเอาความคิดออกมาแสดงให้เห็นนั่นเอง ไม่ใช่แค่การเล่าความคิดหรือเขียนความคิดลงในกระดาษเพราะการเล่าหรือเขียนออกมาก็เป็นเพียงความคิดที่ออกมาเป็นคำพูดหรือเป็นตัวหนังสือแค่นั้น จะต้องมีรายละเอียดของความคิด จากความคิดตั้งต้นแล้วแตกออกไปเรื่อยๆ ว่ารายละเอียดมันมีอะไรบ้าง เช่น ร้องเพลงทายเสียง ใครๆ ก็คิดได้ แต่การเอากำแพงมากั้นระหว่าง 2 คน แล้วให้อีกฝ่ายทายว่าเสียงใคร จากนั้นก็เฉลยโดยการยกกำแพงขึ้น แบบนี้ก็จะเป็นการแสดงออกซึ่งความคิดครับ
3. เป็นการสร้างสรรค์โดยตนเอง ก็คือผู้ที่ทำหรือก่อให้เกิดงานตามข้อ 1. ขึ้นมานั่นเองครับ
4. เป็นงานที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย คือกฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้โดยตรงครับ แต่เมื่อลิขสิทธิ์มันจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย มันก็ไม่ควรขัดต่อกฎหมาย ไม่งั้นกฎหมายจะไปคุ้มครองได้ยังไงล่ะ ถูกมั้ยครับ เพราะฉะนั้นตัวงานที่เราทำขึ้นมันก็จะต้องไม่ไปขัดกับกฎหมายด้วยนั่นเอง
ถ้างานที่เราทำขึ้นเข้าองค์ประกอบทั้ง 4 ข้อที่ผมได้บอกไป งานนั้นก็อาจจะเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ได้ครับ ที่ผมบอกว่าอาจจะก็เพราะว่ากฎหมายมีการกำหนดยกเว้นเอาไว้ด้วยว่างานใดที่ไม่ถือว่าเป็น
งานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 งานครับ
1. ข่าวประจำวันหรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นข่าวสาร และไม่ได้อยู่ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง หรือหนังสือตอบโต้ของหน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่น
4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม 1-4 ด้านบนที่หน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่นเป็นผู้ทำขึ้น
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ CopyrightTheSeries EP.1 ในวันนี้ หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ และอย่าลืมติดตามใน ep ต่อไปด้วยนะครับว่าเราจะหยิบเรื่องไหนมาเล่าให้ทุกคนฟังกันอีก และถ้าใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็สามารถแอดไลน์ของสำนักงานของเราแล้วทักเข้ามาถามเพิ่มเติมได้เลยครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ