สละมรดกคืออะไร และทำอย่างไร

การสละมรดก เป็นกรณีที่เจ้ามรดกเสียชีวิตลงแล้ว

และทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแสดงเจตนาที่จะไม่รับ

สละมรดกคืออะไร และทำอย่างไร

                  การสละมรดก เป็นกรณีที่เจ้ามรดกเสียชีวิตลงแล้ว และทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแสดงเจตนาที่จะไม่รับมรดก โดยแสดงการสละมรดกตามผลของกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ว่า

                มาตรา 1612 การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
                มาตรา 1613 การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การสละมรดกนั้น จะถอนเสียมิได้

วิธีการสละมรดก

                1. ทำเป็นหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                2. ทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

              ถ้าปรากฏว่าผู้สละมรดกเป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลผู้ไม่สามารถทำการงานของตนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ผู้นั้นแสดงหลักฐานว่า ได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี และได้รับอนุมัติจากศาลแล้วจึงรับมอบหนังสือไว้

ตัวอย่างการสละมรดก โดยทำเป็นหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่

                เคสนี้จะเป็นเคสที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท ซึ่งเจ้ามรดกได้ระบุให้ภริยาเป็นผู้จัดการมรดกแบบมีพินัยกรรม และระบุยกทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม แต่ปรากฏว่าภริยาต้องการที่จะสละมรดก ซึ่งผลของการสละมรดก กรณีผู้สละมรดกเป็นผู้รับพินัยกรรม “เมื่อทายาทโดยธรรมสละมรดกทำให้ผู้สละมรดกหมดสิทธิรับมรดกต่อไป แต่ผู้สืบสันดานของผู้สละมรดกย่อมสืบมรดกต่อไปได้ แต่ถ้าผู้รับพินัยกรรมสละมรดก ผู้รับพินัยกรรมหมดสิทธิในการรับมรดกและผู้สืบสันดานของผู้รับพินัยกรรมก็ไม่อาจสืบสิทธิในการรับมรดกต่อไป” ซึ่งทางภริยาเมื่อทราบผลของการสละมรดกแล้วต้องการที่จะสละมรดกดังเดิม จึงได้ไปทำหนังสือการสละมรดกของเจ้ามรดกต่อหน้ากรมการอำเภอและพยานไว้ว่า “ข้าพเจ้าขอแสดงเจตนาสละสิทธิในการรับมรดกของเจ้ามรดกโดยสิ้นเชิงตั้งแต่นี้เป็นต้นไป” ซึ่งทางลูกความของผมเคสนี้ก็ได้มีหนังสือสละมรดกที่ทำไว้ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่และพินัยกรรมเข้ามาพบทนายเพื่อว่าจ้าง ซึ่งทางทีมทนายก็ได้ให้คำแนะนำและทิศทางคดีไว้ โดยให้ทายาทของเจ้ามรดกร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแบบมีพินัยกรรมของเจ้ามรดกต่อไป ซึ่งศาลก็ได้มี คำพิพากษาให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย โดยสามารถนำคำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปติดต่อแบ่งมรดกต่อไป

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »