ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#เบี้ยผู้สูงอายุ
สวัสดิการรัฐ มีอะไรบ้าง!?
สิทธิประโยชน์ที่ทุกคนต้องรู้
พึ่งจะมีดราม่าบนโลกโซเชียลไปหมาด ๆ เลยนะครับกับเรื่องการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ ซึ่งเราก็คงต้องรอดูกันต่อไปนะครับว่าหลายคนออกมาพูดแบบนี้แล้ว ในอนาคตจะทำยังไงกันต่อไป แต่ก่อนที่เราจะลงลึกไปมากกว่านี้ มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ เบี้ยผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในสวัสดิการของรัฐที่รัฐให้แก่ผู้สูงอายุ วันนี้ผมเลยจะหยิบเรื่องสวัสดิการของรัฐมาเล่าให้ฟังว่าคืออะไร และสวัสดิการรัฐ มีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลยครับ
สวัสดิการรัฐ คือ บริการ กิจกรรม หรือประโยชน์ใด ๆ ที่รัฐจัดหรือหามาให้แก่ประชาชนในเรื่องที่เป็นพื้นฐานเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ประชาชนและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ โดยสวัสดิการรัฐที่จัดให้แก่ประชาชนก็มาจากภาษีของประชาชนที่จ่ายให้แก่รัฐนี่แหละครับ
คำว่า “สวัสดิการของรัฐ” มีคำว่า “รัฐ” อยู่ในนั้นด้วยซึ่งทำให้สวัสดิการจะต้องอยู่ในระดับที่ค่อนข้างใหญ่หรือเป็นวงกว้าง โดยรัฐจะต้องจัดสวัสดิการให้เข้าถึงประชาชนทุกคนที่เป็นคนของรัฐหรือประเทศไทย ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของรัฐก็ตาม ซึ่งโดยส่วนใหญ่ สวัสดิการที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนนั้นมักจะเป็นเรื่องปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สวัสดิการรัฐมีอยู่มากมายหลายประเภทมาก ถ้าให้เอามาพูดกันจริง ๆ ว่า สวัสดิการรัฐ มีอะไรบ้าง ก็พูดไม่หมดครับ ผมจึงขอยกตัวอย่างสวัสดิการรัฐมา 4 ประเภท โดยใช้ผู้ที่ได้รับสวัสดิการเป็นเกณฑ์ ดังนี้ครับ
1.สวัสดิการสำหรับเด็กและครอบครัว โดยสวัสดิการนี้แยกออกเป็น 4 ประเภท
1.1 การศึกษา – โครงการหนึ่งที่ผมเชื่อว่าทุกคนจะต้องรู้จักก็คือ โครงการเรียนฟรี 15 ปีในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยโครงการนี้ก็จะช่วยค่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน หรือค่าเครื่องแบบ เป็นต้น
1.2 อาหารเสริม – เป็นการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนในช่วงประถมได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ซึ่งโครงการนั้นก็คือ โครงการนมโรงเรียน ที่ภาครัฐต้องการให้เด็กในช่วงอนุบาลถึงประถมได้ดื่มนมที่มีคุณภาพทุกคน
1.3 ครอบครัว – สวัสดิการด้านครอบครัวนี้ส่วนใหญ่รัฐจะให้เป็นในลักษณะของเงินอุดหนุนหรือเงินสงเคราะห์ และส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบประกันสังคม ในส่วนของข้าราชการก็จะได้เรื่องค่ารักษาพยาบาลของครอบครัวหรือค่าการศึกษาของบุตรที่สามารถเบิกได้
1.4 ผู้เป็นหม้ายและบุตร – กรณีนี้ในไทยไม่ได้มีสวัสดิการเกี่ยวกับหม้ายและบุตรโดยตรง แต่เป็นกรณีที่สามีหรือภรรยาที่เป็นข้าราชการเสียชีวิต ทำให้มีบำเหน็จตกทอดมายังทายาทผู้มีสิทธิซึ่งก็คือ บุตร หรือคู่สมรสครับ
2.สวัสดิการสำหรับคนทำงาน โดยสวัสดิการนี้แยกออกเป็น 5 ประเภท
2.1 คุ้มครองคนทำงาน – รัฐจัดสวัสดิการคุ้มครองคนทำงานหรือแรงงานผ่านกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในด้านต่าง ๆ ที่นายจ้างจะต้องให้แก่ลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดวันลา ค่าจ้าง สวัสดิการ เวลาทำงาน เป็นต้น
2.2 ลูกจ้างที่ทุพพลภาพ – เป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้แก่ข้าราชการและสมาชิกกองทุนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือน ซึ่งจะเกิดสิทธิได้รับสวัสดิการนี้ต่อเมื่อลูกจ้างทุพพลภาพซึ่งก็จะได้รับสิทธิตามที่กฎหมายประกันสังคมกำหนดไว้หรือของหน่วยงานที่สังกัด
2.3 คนตกงาน – สวัสดิการนี้ก็เป็นสวัสดิการของผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมเช่นกัน โดยจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ซึ่งผู้ว่างงานที่ทำครบตามหลักเกณฑ์ก็จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วันในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
2.4 คนหางานทำ – กรณีนี้รัฐมีสำนักงานจัดหางานที่ให้ผู้ที่ต้องการหางานทำไปลงทะเบียนเพื่อหางานที่สำนักงานจัดหางานได้ ซึ่งเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่รัฐจัดให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนมีงานทำ
2.5 ผู้ต้องการพัฒนาอาชีพและทักษะการทำงาน – เป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนทั่วไปสามารถเป็นพัฒนาหรือฝึกทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือการทำงานได้
3.สวัสดิการการรักษาพยาบาล โดยสวัสดิการนี้แยกออกเป็น 3 ประเภท
3.1 การรักษาพยาบาลของราชการ – เชื่อว่าใครหลายคนก็อยากให้คนในครอบครัวเป็นข้าราชการเพราะสิทธิในสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลนี่แหละครับ เพราะครอบคลุมไปถึงบิดามารดา คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในแทบจะทุกการรักษาตามระบบจ่าตรงโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
3.2 การรักษาพยาบาลของประกันสังคม – ลูกจ้างในระบบประกันสังคมยกเว้นงานเกษตรกรรม หากจะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลก็จะได้รับประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมที่มีการส่งเงินสมทบเข้าไปตามหลักเกณฑ์
3.3 การรักษาพยาบาลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า – สวัสดิการนี้เป็นของประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้สิทธิตาม 2 ข้อด้านบน โดยจะต้องไปขึ้นทะเบียนสิทธิไว้ที่สถานพยาบาลของรัฐก่อน แต่แน่นอนว่าสิทธิที่ได้รับก็จะแตกต่างกัน
4.สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ โดยสวัสดิการนี้แยกออกเป็น 3 ประเภท
4.1 หลักประกันด้านรายได้สำหรับผู้สูงอายุ – กรณีนี้เป็นสวัสดิการในเรื่องเงิน เช่น บำเหน็จบำนาญของข้าราชการ หรือเงินก้อนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจและของประกันสังคม หรือกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่รัฐจะเข้ามาดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยให้สามารถเลี้ยงชีพตนเองได้
4.2 ที่อยู่อาศัย – กรณีนี้จะอยู่ในลักษณะสถานสงเคราะห์ต่างๆ สำหรับคนที่ไม่มีครอบครัว หรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้ หรือไม่มีใครดูแล ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและผู้สูงอายุ ที่รัฐจัดที่อยู่อาศัยและปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตให้คนเหล่านี้
4.3 ด้านอื่นๆ – ในด้านอื่น ๆ นี้ก็จะอยู่ในลักษณะเป็นกองทุนให้ผู้สูงอายุ หรือโครงการหาอาสาสมัครมาดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างของสวัสดิการที่รัฐจัดหามาให้เพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อประโยชน์ของประชาชน หวังว่าทุกคนจะเห็นภาพที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นนะครับ แต่ก็ยังมีสวัสดิการรัฐอีกมากมายที่ผมไม่ได้หยิบมาพูดเพราะมันเยอะมากครับ หากอยากทราบจริง ๆ ว่า สวัสดิการรัฐ มีอะไรบ้าง หรืออยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสวัสดิการรัฐ ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เลยครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่