สิทธิในการรับมรดก

สิทธิในการรับมรดกของบุตรและบิดามารดา

มรดก คือ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ตายที่ตกทอดไปยังทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ซึ่งกฎหมายมรดกได้กำหนดสิ่งใดเป็นมรดก,ใครเป็นผู้มีสิทธิได้มรดกและได้ในส่วนแบ่งเท่าใด

ผู้มีสิทธิรับมรดก

โดยในเรื่องของบุคคลผู้มีสิทธิรับมรดก กฎหมายได้กำหนด เรื่องของบุคคลที่เป็นทายาทโดยธรรมในชั้นต่างๆ จำนวน 6 ลำดับ ได้แก่ ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน,ลำดับที่ 2 บิดามารดา,ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดา,ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา,ลำดับที่ 5 ปู่ย่าตายาย และลำดับที่ 6 ลุงป้าน้าอา โดยกฎหมายมรดกได้เรียงลำดับถึงผู้มีสิทธิรับไว้ทำนองว่า ถ้ามีทายาทโดยธรรมลำดับต้นก่อนลำดับถัดไปจะไม่มีสิทธิรับมรดกได้ เว้นแต่กรณีของบุคคลที่อยู่ในลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน และลำดับที่ 2 บิดามารดา ซึ่งถ้ามีบุคคลทั้ง 2 ลำดับนี้อยู่ย่อมมีสิทธิในมรดกเท่าเทียมกับเสมือนเป็นทายาทโดยธรรมชั้นบุตร (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 และมาตรา 1630)

ทายาทโดยธรรม มรดก

กฎหมายมรดก

กฎหมายมรดก จึงให้ให้ความสำคัญทายาทโดยธรรมตามลำดับที่ 1 และ 2 ก่อน อันได้แก่ทายาทในลำดับ 1 คือ ผู้สืบสันดานนั้น ซึ่งผู้สืบสันดานนี้ตามกฎหมายมรดกได้ให้สิทธิบุตรได้รับมรดกก่อน เช่นนี้จึงต้องทราบว่าตามกฎหมายมรดกแล้ว บุตรใดมีสิทธิรับมรดก ซึ่งบุตรที่มีสิทธิรับมรดกในลำดับผู้สืบสันดานนั้น ตามกฎหมายได้กำหนดไว้ ได้แก่ 1.บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายครอบครัว, 2.บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และ 3.บุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายครอบครัว (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627)

บุตร ทายาท

ส่วนกรณีทายาทในลำดับ 2 คือ บิดามารดาซึ่งนั้น ตามกฎหมายมรดกต้องเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายครอบครัวจึงมีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทลำดับชั้นผู้สืบสันดาน ซึ่งกรณีนี้มารดานั้นโดยชอบด้วยกฎหมายครอบครัวนั้น ตามกฎหมายถือเป็นมารดาโดยชอบนับแต่เด็กเกิด แต่กรณีบิดานั้นจะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายครอบครัวได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายครอบครัว โดยหลักของกฎหมายครอบครัวแล้ว สรุปได้ว่า บิดามารดาต้องสมรสหรือเคยสมรสกันในช่วงที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้ หรือได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร เช่นนี้ เมื่อบิดาไม่เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายครอบครัวแล้วแม้จะมีพฤติการณ์รับรองบุตรของตนแล้ว ย่อมไม่เกิดสิทธิในการรับมรดก(นัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2510) และไม่อาจนำหลักกฎหมายเรื่องบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองอันมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทดับผู้สืบสันดานมาเทียบเคียงเพื่อเกิดสิทธิในการรับมรดกได้(นัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2551)

บิดามารดามีสิทธิรับมรดก

หากบทความนี้มีประโยชน์ฝากแชร์ความรู้นี้ต่อไปด้วยนะครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »