ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
หลายคนคงจะเคยได้ยินกันมาว่าเวลาสามีภรรยาหย่ากันก็จะต้องมีการแบ่งทรัพย์สินกัน ซึ่งทรัพย์สินที่จะแบ่งกันก็สามารถแยกได้เป็น “สินส่วนตัว” กับ “สินสมรส” ซึ่งในเรื่องนี้ถ้าไม่ได้มีการหย่ากันก็แทบจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทราบเลย แต่ถ้าเกิดมีปัญหาที่จะต้องหย่ากันขึ้นมาจริงๆ ก็จะต้องรู้เอาไว้เพราะมันจะมีผลในเรื่องการแบ่งทรัพย์สิน วันนี้เลยจะมาเล่าให้ทุกคนฟังว่า สินส่วนตัว กับ สินสมรส มันแตกต่างกันอย่างไร
เรามาดูที่นิยามของแต่ละคำกันก่อนเลยดีกว่าว่าแต่ละคำมีความหมายว่าอย่างไร
สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่ได้หรือมีมาก่อนมีการสมรส
สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส
นิยามดังกล่าวเป็นนิยามอย่างง่ายที่สุดเพื่อให้ทุกคนเข้าใจแบบกว้างๆ กันก่อน เพราะจะมีทรัพย์สินบางอย่างที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสอยู่ ทีนี้เรามาลงรายละเอียดกันเลยดีกว่า โดยในเรื่องสินส่วนตัวกับสินสมรสจะอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
สินส่วนตัว กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 1470 เบื้องต้นว่าถ้าสามีภริยาได้แยกทรัพย์สินใดเป็นสินส่วนตัวแล้ว ทรัพย์สินอื่นๆ นอกจากนั้นให้เป็นสินสมรส และกฎหมายก็ได้กำหนดเลยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินส่วนตัวบ้าง โดยกำหนดไว้ในมาตรา 1471 ดังนี้
1 ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส คือทรัพย์สินอะไรก็ตามที่มีอยู่หรือมีกรรมสิทธิ์ก่อนจดทะเบียนสมรส เช่น ซื้อรถยนต์มาขับก่อนที่จะจดทะเบียนสมรส
2 ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น เสื้อผ้า สร้อย กำไล หรือแหวน เป็นต้น ส่วนเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพก็เช่น เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ในสำนักงาน เป็นต้น
3 ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา คือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการรับมรดก (ทั้งตามกฎหมายและตามพินัยกรรม) หรือการให้ ซึ่งได้มาเมื่อได้มีการจดทะเบียนสมรสแล้ว แต่กฎหมายให้ถือว่าเป็นสินส่วนตัว
4 ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้โอนหรือส่งมอบให้แก่ฝ่ายหญิงไว้เป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงคนนั้น ซึ่งของหมั้นนี้จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงคู่หมั้นทันที
5 ของแทนสินส่วนตัว คือทรัพย์หรือเงินที่ที่ได้มาจากการนำสินส่วนตัวไปขายหรือแลกมา สิ่งที่ได้กลับมาก็จะเป็นสินส่วนตัว
สินสมรส กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 1474 ดังนี้
1 ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส คือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำมาหาได้มา โดยไม่ต้องดูว่าอีกฝ่ายจะมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้หรือไม่ เช่น รายได้ที่ได้มาจากการทำงานหรือเงินเดือน
2 ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ โดยพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส คือทรัพย์สินที่ได้รับมาโดยพินัยกรรมหรือการให้ที่มีการทำเป็นหนังสือยกให้ในระหว่างที่มีการสมรส โดยจะต้องมีการระบุในหนังสือยกให้หรือพินัยกรรมนั้นด้วยว่าทรัพย์สินที่ให้นั้นให้ในฐานะที่เป็นสินสมรส ซึ่งถ้าหากไม่ระบุไว้ในหนังสือยกให้ว่าให้เป็นสินสมรส หรือการให้นั้นไม่ได้มีการทำเป็นหนังสือ หรือได้ทรัพย์มรดกมาตามกฎหมาย (ไม่ใช่ได้มาโดยพินัยกรรม) ทรัพย์สินนั้นก็จะถือเป็นสินส่วนตัวได้
3 ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว คือดอกผลของสินส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นดอกผลธรรมดาหรือดอกผลนิตินัยก็จะเป็นสินสมรสทั้งหมด เพราะดอกผลที่ได้มาก็คือทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสนั่นเอง
การแบ่งสินส่วนตัวกับสินสมรส
เมื่อทราบว่าสินส่วนตัวกับสินสมรสแตกต่างกันอย่างไรแล้ว เรามาดูในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินทั้ง 2 ประเภทกันต่อเลย ในเบื้องต้นเมื่อมีการหย่ากันแล้วก็จะต้องมีการแยกสินส่วนตัวออกจากสินสมรสก่อน สินส่วนตัวก็จะเป็นของใครของมัน ส่วนในเรื่องการแบ่งสินสมรสนั้นหากสามีภรรยาสามารถตกลงกันได้ว่าจะแบ่งกันอย่างไรก็ให้เป็นไปตามที่ตกลงกันได้เลย แต่ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้หรือต้องการให้เป็นไปตามกฎหมาย ในเบื้องต้นการแบ่งสินสมรสก็จะต้องแบ่งให้แต่ละฝ่ายเป็นส่วนเท่าๆ กันหรือก็คือคนละครึ่งนั่นเอง
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ