เช่าซื้อกับลีสซิ่ง ต่างกันอย่างไร

เช่าซื้อกับลีสซิ่ง ต่างกันอย่างไร

เช่าซื้อกับลีสซิ่ง ต่างกันอย่างไร

เช่าซื้อกับลีสซิ่ง ต่างกันอย่างไร

                        เวลาที่เราซื้อทรัพย์สินที่ชิ้นใหญ่ที่มีราคาสูง ผมจะขอยกตัวอย่างเป็นรถยนต์นะครับ ส่วนมากเราก็จะซื้อกันโดยทำเป็นสัญญาเช่าซื้อผ่อนกันไปเรื่อยๆ อยู่แล้วใช่ไหมครับ แต่ก็มีสัญญาอีกแบบหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกันกับเช่าซื้อมากๆ นั่นก็คือ “ลีสซิ่ง” ครับ ส่วนทั้งสองอย่างจะแตกต่างกันยังไง วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันครับ

                        ก่อนที่เราจะไปดูความต่างกัน เรามาทำความรู้จักกับแต่ละประเภทก่อนครับ
                        1.เช่าซื้อ เป็นสัญญาทางพาณิชย์ที่อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยสัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาที่เจ้าของทรัพย์หรือผู้ให้เช่าซื้อเอาทรัพย์ของตัวเองออกให้ผู้อื่นเช่าในชั่วระยเวลาหนึ่ง และให้คำมั่นว่าจะขายหรือให้ทรัพย์ที่เช่าซื้อตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อเมื่อจ่ายเงินครบตามงวด

                        ง่ายๆ คือเวลาเราซื้อของชิ้นใหญ่ที่จะต้องใช้เงินก้อนใหญ่ เช่่น รถ หรือบ้าน คือไม่มีใครที่จะไปถอนเงินก้อนนั้นแล้วเอาเงินมาจ่ายทั้งหมด ยกเว้นเงินจะเหลือๆ นะครับ ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการซื้อของแบบนั้นด้วยการเช่าซื้อ โดยเหมือนกับการเช่าแล้วเราจ่ายค่าเช่าไปในตัวเพื่อที่เราจะนำทรัพย์นั้นมาใช้ก่อน พอจ่ายครบตามที่ตกลงกันเป็นงวดๆ กรรมสิทธิ์ก็จะตกแก่ผู้เช่าซื้อในท้ายที่สุดครับ

                         2.ลีสซิ่ง หรือเรียกอีกอย่างว่า เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง ก็เป็นสัญญาทางพาณิชย์ชนิดหนึ่งเหมือนกัน โดยผู้เช่าแบบลีสซิ่งจะเน้นใช้ประโยชน์จากทรัพย์นั้นในระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อจ่ายค่าเช่าตามที่กำหนดในสัญญากันแล้ว ผู้เช่าลีสซิ่งเลือกได้ว่าในท้ายที่สุดแล้วต้องการเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่

โดยผู้เช่าลีสซิ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นนิติบุคคลครับ เพราะลีสซิ่งจะส่งผลถึงเรื่องทางบัญชีของบริษัทครับที่ไม่รับว่าทรัพย์สินที่เช่าเป็นทรัพย์สินของบริษัทนั่นเอง

ส่วนในเรื่องความแตกต่างของ “เช่าซื้อ” กับ “ลีสซิ่ง” นั้นมีหลายเรื่องซึ่งค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ผมเลยขอยกความแตกต่างที่เห็นได้ชัดมา 3 อย่างดังนี้ครับ

1.กรรมสิทธิ์
ความแตกต่างอย่างแรกที่เห็นได้ชัดเลยคือเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ครับ โดยกรณีเช่าซื้อหากผู้เช่าซื้อจ่ายค่าเช่าซื้อครบตามที่กำหนดในสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์ก็จะตกเป็นของผู้เช่าซื้อในทันที แค่ไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเท่านั้น แต่ถ้าเป็นลีสซิ่งก็จะเน้นหนักไปทางเช่ามากกว่า ผู้เช่าลีสซิ่งสามารถเลือกได้ว่าต้องการกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เช่าหรือไม่ คืออาจจะตกลงให้โอนกรรมสิทธิ์หรืออาจจะต่อสัญญาเช่ากันต่อไปก้ได้ครับ

2.ราคาค่าเช่า
กรณีเช่าซื้อค่อนข้างจะมีราคาที่เช่าซื้อที่ต้องจ่ายสูงกว่าลีสซิ่ง เนื่องจากผู้เช่าซื้อได้ใช้ประโยชน์ก่อนเหมือนการเช่าทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์และสุดท้ายกรรมสิทธิ์ก็จะตกแก่ผู้เช่าซื้อ เอาง่ายๆ ก็เหมือนการรวม ค่าเช่า+ราคาขาย เข้าไปในตัวด้วยโดยที่ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มเติมอีกภายหลังจากที่ตกลงกัน แต่ลีสซิ่งจะเน้นไปที่ราคาค่าเช่าอย่างเดียว ซึ่งก็จะทำให้ราคาต่ำกว่า หากผู้เช่าลีสซิ่งต้องการที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เช่าก็จะต้องจ่ายเงินอีกก้อนหนึ่งเพื่อที่จะซื้อทรัพย์นั้นครับ

3.ความเป็นเจ้าของในทางบัญชี
กรณีนี้จะเป็นเรื่องของนิติบุคคลนะครับ โดยกรณีเช่าซื้อในทางบัญชีจะถือว่าทรัพย์ที่เช่าซื้อเป็นสินทรัพย์ของกิจการตั้งแต่เซ็นสัญญาเลยครับ แม้ว่าจะยังไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่ทรัพย์ที่เช่ากรณีลีสซิ่งนั้นจะยังไม่ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ เพราะผู้เช่าลีสซิ่งยังสามารถเลือกได้ว่าจะเช่าต่อหรือจะเป็นเจ้าของทรัพย์นั้นครับ

 

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »