ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้กระทำผิดต้องรับโทษตามกฎหมาย เป็นหลักการที่พวกเราเข้าใจกันดีอยู่แล้ว แต่กฎหมายก็มีการกำหนดเหตุลดโทษให้ผู้กระทำรับโทษเบาลงเอาไว้อยู่ด้วยครับ ซึ่งก็จะต้องครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ผู้กระทำถึงจะได้รับการลดโทษ วันนี้เราไปดูกันว่าเหตุลดโทษตามกฎหมายอาญามีกรณีไหนและมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
เหตุลดโทษ หรือเหตุบรรเทาโทษ คือ เหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ศาลอาจนำมาพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิดให้ได้รับโทษน้อยลงได้ โดยเหตุลดโทษนี้เป็นกรณีที่ผู้กระทำความผิดนั้นศาลพิจารณาแล้วว่ามีความผิดจริง ไม่เข้าเหตุยกเว้นความผิด และไม่เข้าเหตุยกเว้นโทษ สุดท้ายศาลก็จะพิจารณาว่าผู้กระทำมีเหตุที่่จะได้รับโทษน้อยลงหรือไม่ เหตุลงโทษจึงเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการพิจารณาความรับผิดครับ
เหตุลดโทษหรือบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญาจะถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ที่วางหลักว่า เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้ โดยมีเหตุดังนี้ครับ
1.ผู้กระทำเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา
2.ผู้กระทำเป็นผู้ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส
3.ผู้กระทำมีคุณความดีมาก่อน เช่น เคยช่วยเหลืองานราชการ หรือรับสารภาพชั้นสอบสวน
4.ผู้กระทำรู้สึกถึงความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น เช่น การชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย หรือพพาผู้เสียหายไปส่งโรงพยาบาล
5.ผู้กระทำลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน เช่น ยินยอมให้จับกุม เข้ามอบตัว มอบพยานหลักฐานหรือของกลางให้แก่เจ้าพนักงาน
6.ผู้กระทำให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา เช่นรับสารภาพในชั้นศาลไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางประเด็น แต่ถ้าปฏิเสธมาตลอดแล้วมารับสารภาพก็เพราะจำนนต่อพยานหลักฐานแบบนี้ไม่เข้าเหตุบรรเทาโทษครับ
7.เหตุอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน กรณีนี้กำหนดไว้อย่างกว้างๆ เพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยครับ
อย่างไรก็ดีมีกฎหมายที่กำหนดให้ผู้กระทำรับโทษน้อยลงแยกต่างหากจากมาตรา 78 ไว้ด้วยครับ
1.ความเป็นญาติ ตามมาตรา 71 ในกรณีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา และผู้กระทำได้กระทำต่อผู้สืบสันดาน บุพการี หรือพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน หรือก็คือญาติ กฎหมายกำหนดว่าศาลจะลงโทษผู้กระทำน้อยกว่าที่กฎหมายไว้เท่าไหร่ก็ได้ครับ
2.บันดาลโทสะ ตามมาตรา 72 ก็คือกรณีที่ผู้กระทำถูกข่มเหงและลงมือกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงตน หรือก็คือกระทำความผิดด้วยการบันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเท่าไหร่ก็ได้เช่นกันครับ
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่