แบบพินัยกรรม

แบบพินัยกรรม คือ

พินัยกรรมต้องทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติ ถ้าพินัยกรรมทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ พินัยกรรมมีผลเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมาย ซึ่งแบบของพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี 5 แบบคือ

แบบพินัยกรรมมี 5 แบบ

  1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
  2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
  3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
  4. พินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารลับ
  5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

หลักเกณฑ์การทำพินัยกรรมแบบธรรมดา

พินัยกรรมธรรมดา

พินัยกรรมนั้นจะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น

การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรม

  1. ทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น การทำเป็นหนังสือนั้น ผู้เขียนอาจเขียนเองหรือให้ผู้อื่นเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ โดยผู้เขียนอาจจะหลายคนหรือใช้เครื่องพิมพ์หลายเครื่องก็ได้ และจะต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะทำพินัยกรรมด้วย หากผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี โดยผู้ทำพินัยกรรมมาลงวัน เดือน ปี ในภายหลัง พินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ
  2. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีพยานอย่างน้อยสองคนอยู่รู้เห็นการลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมพร้อมกัน จะมีพยานอยู่คนเดียวไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ถูกต้องตามแบบ พินัยกรรมเป็นโมฆะ แม้ต่อมาจะมีพยานอีกคนหนึ่งมาลงชื่อด้วยก็ไม่ทำให้พินัยกรรมนั้นสมบูรณ์ขึ้นมาได้ อนึ่ง ถ้าผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนในขณะนั้น
  3. พยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ผู้ที่เป็นพยานสองคนนั้นจะต้องลงลายมือชื่อรับรองในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรม พยานจะไปลงลายมือชื่อรับรองในเวลาอื่นที่ไม่ใช่ขณะผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไม่ได้ โดยพยานไม่จำต้องรู้ข้อความในพินัยกรรม

หลักเกณฑ์การทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ

พินัยกรรม เขียนเอง

พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือเองซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน

  1. ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด การทำพินัยกรรมแบบนี้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด เพราะเมื่อทำได้เองโดยลำพัง ไม่มีผู้อื่นเกี่ยวข้อง ก็ควรให้เป็นหลักฐานว่า ข้อความทั้งหมดในพินัยกรรมนั้นได้เขียนด้วยมือของผู้ทำพินัยกรรมเองจริงๆ แม้ผู้ทำพินัยกรรมตายไปแล้ว หากมีข้อโต้แย้งก็อาจพิสูจน์กันได้ว่าเป็นลายมือของผู้ทำพินัยกรรมใช่หรือไม่ ต่างกับการพิมพ์ดีด แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะเป็นคนพิมพ์เอง แต่เมื่อไม่มีผู้รู้เห็นเป็นหลักฐาน หากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นว่าผู้อื่นเป็นคนพิมพ์และไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ก็เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่า ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้พิมพ์เองทั้งหมด การทำพินัยกรรมแบบนี้จึงใช้พิมพ์ดีดไม่ได้เลยไม่ว่าจะพิมพ์ดีดทั้งหมดโดยผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์เองหรือพิมพ์ดีดเฉพาะบางตอนหรือเฉพาะข้อความที่กรอบลงในช่องว่าง ข้อความบางอย่างกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมี เช่นสถานทีทำพินัยกรรม ถ้าผู้ทำพินัยกรรมต้องการระบุสถานที่ทำพินัยกรรมไว้ในพินัยกรรมก็ต้องเขียนด้วยมือตนเองเหมือนกัน
  2. ต้องลงวัน เดือน ปี การลงวัน เดือน ปี ในพินัยกรรมซึ่งต้องมีเช่นเดียวกับพินัยกรรมแบบทำเป็นหนังสือหรือแบบธรรมดาที่กล่าวมาแล้ว แต่การลงวัน เดือน ปี ไม่ได้บังคับว่าต้องลงวัน เดือน ปี เมื่อใดต่างกับพินัยกรรมแบบธรรมดา ซึ่งต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้นเมื่อไม่ได้บังคับจึงอาจลง วัน เดือน ปี เช่น อาจลงในวาระเดียวกับที่เขียนข้อความเสร็จและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม หรืออาจลงภายหลังจากนั้นหลายวันแล้วแต่ความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ทั้งนี้เพราะพินัยกรรมแบบนี้ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือเองทั้งหมด ไม่ต้องมีผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในการทำด้วยเลยไม่ว่าในฐานะผู้เขียนหรือพยาน ผู้ทำพินัยกรรมจึงอาจเขียนข้อความอะไรก่อนหลังตลอดจนการลงวัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อเมื่อใดก็ได้ การเขียนข้อความในพินัยกรรมและลงลายมือชื่อเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ลงวัน เดือน ปี จะถือว่าเป็นโมฆะไม่ได้ ต้องถือว่าอยู่ในระหว่างการทำเท่านั้น เพราะผู้ทำพินัยกรรมยังมีสิทธิที่จะลงวัน เดือน ปี ได้อีกตามที่ต้องการต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายไปแล้ว หากปรากฏว่าพินัยกรรมไม่ได้ลง วัน เดือน ปี จึงจะถือได้ว่ามิได้ให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้เป็นโมฆะ
  3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อของตน การลงลานมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมนี้ ผู้ทำพินัยกรรมจะทำได้แต่โดยลงลายมือชื่อประการเดียว จะประทับตรา ลงลายพิมพ์นิ้วมือ หรือแกงได หรือเครื่องหมายอื่น ไม่ได้ เพราะเมื่อผู้ทำพินัยกรรมเขียนด้วยมือตนเองได้ทั้งฉบับแล้ว ก็ชอบที่จะลงลายมือชื่อของตนเองได้ด้วย

พินัยกรรมนั้น มีแบบอื่นอีก ได้แก่ พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง,พินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารลับ และพินัยกรรมด้วยวาจา ส่วนแบบเป็นแบบไหนนั้นติดตามได้ที่ แบบพินัยกรรม แบบที่ 3-5

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีมรดก คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีมรดกหรือ จ้างทนายคดีมรดก คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเท่านั้นหรือไม่

บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ

อ่านเพิ่มเติม »