ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นที่เกี่ยวกับการไม่เปิดสัญญาณไฟ กรณีจอดรถเสียไว้ตรงไหล่ทาง ว่าเป็นความผิดหรือไม่ และกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นใครต้องรับผิด และในศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นฎีกา มีคำสั่งเช่นไร มาดูกันได้ครับ
เหตุการณ์เกิดขึ้นเกิดจากที่นาย ก. รถเสียจอดรถไว้ไม่เปิดสัญญาณไฟ แล้วต่อมา นาย ข. ขับมาชน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2540 เวลากลางคืนหลังเที่ยง นาย ก. ขับรถบรรทุก 10 ล้อ แล้วปรากฏว่า ยางเส้นในล้อหลังรถพ่วงด้านขวาแตก นาย ก. จึงจอดรถบนถนนดังกล่าวในลักษณะกีดขวางการจราจรและไม่เปิดไฟสัญญาณฉุกเฉินของรถเพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบ ให้ผู้ที่ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร และด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังของนาย ก. ดังกล่าวเป็นเหตุให้นาย ข. ซึ่งขับรถจักรยานยนต์ ไม่อาจระมัดระวังและมองเห็นรถบรรทุกพร้อมรถพ่วงที่นาย ก. จอดอยู่ได้ จึงพุ่งเข้าชนท้ายรถบรรทุกพร้อมรถพ่วงอย่างแรง ทำให้รถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหายและนาย ข. ถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนาย ก. หลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือนาย ข. ตามสมควร และไม่แสดงตัว ทั้งไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับไม่แจ้งชื่อตัวชื่อสกุลและที่อยู่ของนาย ก. แก่ผู้ได้รับความเสียหาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและนาย ก. ใช้รถบรรทุกพร้อมรถพ่วงดังกล่าวซึ่งเป็นรถที่ใช้ในการขนส่ง บรรทุกหินแล่นไปตามถนน โดยที่ยังมิได้เสียภาษีประจำปี ซึ่งนาย ก. ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า นาย ก. มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4), 78 วรรคหนึ่ง, 157, 160 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71, 148 ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี ฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือฯ จำคุก 2 เดือน ฐานใช้รถที่จดทะเบียนแล้วแต่มิได้เสียภาษีประจำปีปรับ 8,000 บาท รวมจำคุก 1 ปี 2 เดือนและปรับ 8,000 บาท พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นาย ก. ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ในศาลชั้นฎีกา ได้วินิจฉัย ที่นาย ข. ถึงแก่ความตายหาใช่ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการขับรถของนาย ก. นาย ก. จึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) ,157 คงผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น และไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 78 เนื่องจากหาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่หรือหยุดรถอยู่ไม่ จึงถือไม่ได้ว่านาย ก. เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
กรณีนี้จะเห็นได้ว่า การที่รถเสียแล้วจอดไว้ แล้วไม่เปิดสัญญาณไฟ แม้จะอ้างว่ายังไม่มืดพอสามารถมองเห็นได้ ก็ถือว่า รับฟังไม่ได้ แต่เนื่องจากจากรถจอดเสียอยู่ ที่นาย ข.ถึงแก่ความตายหาใช่ผลโดยตรงจากการขับรถของนาย ก. ไม่ แต่เป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และอีก 1 กรณีที่เป็นประเด็นคือ กรณีที่นาย ก. ไม่ลงไปช่วยเหลือ ไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง ซึ่งศาลฎีกาก็ได้ตัดสินว่า นาย ก. ไม่ต้องรับโทษฐานความผิดนี้
(อ้างอิง : ฏ.2210/2544)
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ