บุตรที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายไทย
บุตรที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายไทย เมื่อบุคคลเสียชีวิต ทรัพย์สินที่เขามีอยู่จะถูก
ตามกฎหมายเดิม คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ถูกยกเลิกและมีการออกกฎหมายใหม่ คือ ประมวลกฎหมายยาเสพติด มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 มีข้อสังเกตบางประการเรื่อง
กฎหมายใหม่ยกเลิกบทสันนิษฐานความผิดตามกฎหมายเดิม เช่น มาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่มีข้อสันนิษฐานในทางที่เป็นคุณตาม มาตรา 107 วรรคสอง กล่าวคือ หากมีไว้ในครอบครองในปริมาณเล็กน้อยไม่เกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดในกฎกระทรวง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ
ครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามกฎหมายเดิม คือการกำหนดเพดานขั้นต่ำว่าถ้าคุณครอบครองยาเสพติดเกินปริมาณที่กำหนดไว้ ก็สันนิษฐานว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ในกฎหมายยาเสพติดใหม่ไม่มีข้อสันนิษฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกต่อไปแล้ว ตามความเห็นของท่านภูวิชชชญา เหลืองธีรกุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เห็นว่าถ้าตำรวจจะทราบว่าผู้ครอบครองยาครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือเปล่า ตำรวจก็ต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ ซึ่งมันก็ยากขึ้นสำหรับตำรวจ เพราะในฝั่งผู้ต้องหาก็คงยากที่จะสารภาพตรงๆ ว่าตนเป็นคนค้ายา แล้วหลักฐานก็พิสูจน์ได้ยาก เช่น มีใช้ซิมการ์ดเถื่อนที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นชื่อตัวเอง หรือบัญชีธนาคารที่ใช้ก็อาจเป็นบัญชีม้า (การใช้บัญชีของคนอื่นเป็นช่องทางในการรับเงิน เพื่อไม่ให้มีหลักฐานเชื่อมโยงมาถึงตัว) ดังนั้นเมื่อพยานหลักฐานเป็นที่พิสูจน์ได้ยากมากและบทสันนิษฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายก็ถูกยกเลิกไปแล้ว ผู้ต้องหาก็จะรับโทษแค่ระดับหนึ่งกล่าวคือยังมีความผิดอยู่ เช่น ถ้าครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ก็จะรับโทษตามมาตรา 145 วรรค 1 คือจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท แต่ถ้ามีพยานหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าครอบครองยาเสพติดอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าหรือเหตุฉกรรจ์อื่นๆ ก็จะต้องใช้วรรค 2 ของมาตรา 145 คือจำคุกตั้งแต่ 2-20 ปี เป็นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2565 (ประชุมใหญ่) เมื่อตามกฎหมายเดิม มาตรา 15 ประกอบมาตรา 66 บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาเพียงปริมาณของยาเสพติดเป็นสำคัญ แต่กฎหมายใหม่ มาตรา 145 บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ในการกระทำผิดเป็นสำคัญไม่ได้ ถือเอาเพียงปริมาณดังเช่นกฎหมายเดิมอีกต่อไป แต่ปริมาณยาเสพติดที่มากขึ้นอาจบ่งชี้ได้ถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่อยู่ในตัว กฎหมายใหม่จึงไม่ได้ยกเลิกความผิดตามาตรา 66 วรรคสองและวรรคสามไปเสียทีเดียว ดังนั้น ถ้าผู้กระทำความผิดมีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทความผิดตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสามได้ แต่ถ้ายาเสพติดมีปริมาณถึงตามกฎหมายเดิม มาตรา 66 วรรคสองหรือวรรคสาม แต่ผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสอง หรือวรรคสาม ศาลคงปรับบทความผิดได้เพียงมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ส่วนการกำหนดโทษก็ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่ไม่ว่าทางใด ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
ฉะนั้น เมื่อมีการยกเลิกบทสันนิษฐานการครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด(กฎหมายเดิม)แล้ว หากเป็น การครอบครองยาเสพติดอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าตามกฎหมายใหม่ ตามมาตรา 145 วรรคสอง (1) ศาลจะพิจารณาตามกฎหมายใหม่ แทนกฎหมายเดิมที่ยกเลิกไป ตามพฤติการณ์ในการกระทำความผิด ปรับใช้ตามกฎหมายใหม่นั่นเอง
อ่านบทความเพิ่มเติม คดียาเสพติด คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดียาเสพติด หรือ จ้างทนายคดียาเสพติด คลิก!
บุตรที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายไทย เมื่อบุคคลเสียชีวิต ทรัพย์สินที่เขามีอยู่จะถูก
ยื่นอุทธรณ์และฎีกาคดีแพ่งอย่างไรให้ถูกต้อง? สรุปขั้นตอนและเงื่อนไขสำคัญ อุทธรณ์ค
ฟอกเงินแพ่งคืออะไร? ขั้นตอนยึดทรัพย์และวิธีรับมือ เข้าใจง่าย! ฟอกเงินแพ่งคืออะไร
คดีทำร้ายร่างกาย! อย่าทนความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายคุ้มครองคุณ ความรุนแรงในครอบค