ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
6.ปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340
“ ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”
ปล้นทรัพย์ คือ ลักทรัพย์ +ขู่หรือใช้กำลังประทุษร้าย+ในทันใดนั้น+3คน
7.ฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
“ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษ…”
คดีฉ้อโกง คือ ตั้งใจหลอกลวง ตั้งใจโกง ตั้งใจทำให้เข้าใจผิดตั้งแต่แรก ต้องแจ้งความหรือฟ้องต่อศาลภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องรู้ตัวผู้กระทำผิด
8.ยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
“ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ…”
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ คือ มีการครอบครองทรัพย์ ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม โดยเจตนาและมีมูลเหตุชักจูงใจ โดยทุจริตเป็นการกระทำต่อกรรมสิทธิ์
9.รับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357
“ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษ…”
รับของโจร คือ
1.ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือ รับไว้โดยประการใด
2.ทรัพย์นั้นได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์
3.โดยเจตนา คือรับไว้โดยรู้ว่าทรัพย์นั้น ได้มาโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ข้อ 2
“ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”
จะเป็นความหมายตรงตัว ซึ่งทำให้เสียทรัพย์ = ทำแต่ไม่เอา
11.บุกรุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362
“ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษ…”
บุกรุก คือ เข้าไป ในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อแย่งการครอบครอง หรือเข้าไปรบกวนการครอบครอง
การบุกรุกผู้กระทำจะต้องเข้าไปในเคหสถานทั้งตัวมิใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้กระทำล่วงล้ำเข้าไปในเคหสถาน
เมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆเกี่ยวกับความผิดทางอาญาฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ สามารถดูองค์ประกอบประกอบมาตรา แล้วแต่กรณี และสามารถศึกษาอัตราโทษเพิ่มเติม เมื่อต้องมีการฟ้องร้องเป็นคดี หรือสามารถปรึกษาทางสำนักงานให้ช่วยคุณได้อีกช่องทางนึงค่ะ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ