ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
คดีอาญา เป็นคดีที่ปลายทางนั้นมีผลต่อเรื่องเสรีภาพของจำเลยซะส่วนใหญ่ ดังนั้นในการพิจารณาคดีศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานอย่างรอบคอบเพื่อวินิจฉัยถึงความผิดของจำเลย แต่กฎหมายก็มีการกำหนดว่าพยานหลักฐานใดที่ศาลห้ามรับฟังเอาไว้ด้วย ไม่ว่าจะเพราะตัวพยานหลักฐานนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่เกี่ยวกับเรื่องที่พิพาทกัน หรืออื่นๆ เราไปดูกันเลยว่าในคดีอาญา พยานหลักฐานแบบไหนที่ห้ามมิให้รับฟัง
1.หลักห้ามรับฟัง ป.วิ.แพ่ง ที่นำมาใช้ในคดีอาญา
หลักตามมาตรา 86 วรรค 2 ซึ่งนำมาใช้ในคดีอาญา โดยอาศัยมาตรา 15 แห่งป.วิ.อาญา ซึ่งก็คือพยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควร ประวิงคดีให้ชักช้า หรือเป็นพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นในคดี แบบนี้ศาลก็มีอำนาจที่จะงดการสืบพยานหลักฐานดังกล่าวได้และอาจจะงดสืบพยานหลักฐานอื่นต่อไปได้อีกด้วย ต่อไปเราไปดูที่หลักห้ามรับฟังตาม ป.วิ.อาญากันบ้างครับ
2.หลักห้ามรับฟัง ป.วิ.อาญา
2.1 ห้ามรับฟังคำให้การของผู้ถูกจับ มาตรา 84 วรรค 4
กฎหมายกำหนดห้ามศาลไม่ให้รับฟังถ้อยคำที่ผู้ถูกจับให้ไว้กับเจ้าพนักงานในชั้นจับกุมหรือในชั้นรับมอบตัวผู้ถูกจับครับ แต่ไม่ได้ห้ามทั้งหมดนะครับ กฎหมายห้ามใน 2 กรณี คือ
(ก) คำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนกระทำความผิด
(ข) ถ้อยคำอื่นที่ผู้ถูกจับให้ไว้ซึ่งตอนนั้นเจ้าพนักงานผู้จับยังไม่ได้แจ้งสิทธิกับผู้ถูกจับ
สรุปก็คือคำรับสารภาพว่ากระทำผิดจะห้ามรับฟังทุกกรณี ไม่มีข้อยกเว้น แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่นๆ จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับแล้วนั่นเองครับ
2.2 ห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ มาตรา 226
พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบก็คือ พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น เช่น ตำรวจมีเสนอว่าถ้าให้การแบบนี้หรือถ้ารับสารภาพจะช่วยไม่ให้ติดคุก หรือซ้อมให้ผู้ต้องหายอมรับสารภาพ
ส่วนกรณีล่อซื้อหรือล่อให้กระทำความผิดนั้นจัดว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการแสวงหาพยานหลักฐานครับ แต่จะล่อซื้อได้ มันจะต้องมีเหตุจากตัวผู้กระทำมาก่อนนะครับ เช่น เชื่อว่าคนนี้ขายยาหรือกระทำความผิด จึงไปล่อให้กระทำ ถ้าไม่มีเหตุอะไรเลยแล้วไปทำให้เกิดหลักฐานในการกระทำความผิดขึ้น แบบนี้ก็จะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ ห้ามรับฟังครับ
2.3 ห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ มาตรา 226/1
กรณีนี้อาจแยกเป็น 2 กรณีครับ
(ก) พยานหลักฐานนั้นเกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาโดยวิธีการที่ไม่ชอบ เช่น การดักฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ หรือเข้าไปค้นและยึดสิ่งของโดยไม่มีหมาย
(ข) พยานหลักฐานเกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่ได้มาโดยมิชอบ เช่น ซ้อมผู้ต้องหาให้พูด แต่ถ้อยคำที่ได้มานั้นไม่ได้นำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน กลับนำข้อมูลนั้นไปแสวงหาพยานหลักฐานอื่นอีกทีครับ
แบบนี้กฎหมายกำหนดห้ามไม่ให้ศาลรับฟัง แต่ถ้าการรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียที่จะเกิดต่อระบบงานหรือสิทธิเสรีภาพ ศาลอาจจะรับฟังก็ได้ โดยพิจารณาประกอบกับความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น พฤติการณ์และความร้ายแรงของคดี ความเสียหายที่เกิดขึ้น และผู้ที่ได้พยานหลักฐานมาโดยลงโทษหรือยัง
2.4 ห้ามรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับความประพฤติเสื่อมเสียของจำเลย มาตรา 226/2
กรณีมีการนำสืบถึงการกระทำความผิดครั้งอื่นๆ ของจำเลยหรือความประพฤติในทางที่เสื่อมเสียของจำเลย แต่มีข้อยกเว้นที่จะรับฟังได้ ดังนี้
(ก) พยานหลักฐานเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิดของคดีที่ฟ้อง
(ข) พยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลย ผมขอยกตัวอย่าง ฆาตกรต่อเนื่องนะครับที่เขามักจะมีลักษณะหรือวิธีการในการทำความผิดของตัวเองเสมอครับ
(ค) พยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของจำเลยถึงการกระทำหรือความประพฤติในส่วนดีของจำเลย
2.5 ห้ามรับฟังพยานบอกเล่า มาตรา 226/3
พยานบอกเล่าก็คือพยานที่ไม่ได้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง แต่ได้รับการบอกเล่ามาอีกทีหนึ่ง อาจจะเป็นพยานบุคคลหรือพยานเอกสารที่เป็นบันทึกมาอีกทีหนึ่งก็ได้ครับ โดยกฎหมายกำหนดหลักว่าห้ามรับฟัง แต่มีข้อยกเว้นที่รับฟังได้อยู่ ดังนี้ครับ
(ก) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ
(ข) มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลที่เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การนั้นมาเป็นพยานด้วยตนเองได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น
ซึ่งข้อยกเว้นเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับศาลเลย เพราะกฎหมายให้ดุลยพินิจแก่ศาลในการพิจารณาว่าจะรับฟังหรือไม่รับฟังนั่นเอง
2.6 ห้ามรับฟังพยานหลักฐานเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย มาตรา 226/4
กรณีนี้จะเป็นกรณีเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายครับ กฎหมายกำหนดห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหาย ซึ่งจะอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก) ห้ามเฉพาะการสืบพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายกับบุคคลอื่น แต่ถ้าเป็นพฤติกรรมระหว่างผู้เสียหายกับจำเลย แบบนี้นำสืบได้
(ข) ไม่ได้ห้ามแบบเด็ดขาด ศาลอาจอนุญาตตามคำขอของจำเลยได้หากเห็นว่าจะทำให้เกิดความยุติธรรมแก่คดี
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่
บิดาหรือมารดาที่จดทะเบียนกัน จะฟ้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ต้องหย่ากันก่อนเ
รวมวิธีการป้องกัน ที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์ เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ดีๆ ผ่านไป 10 ปี
แบ่งมรดกไม่ลงตัว ทำอย่างไร #ทายาทต้องรู้แบ่งมรดกไม่ลงตัว ต้องทำอย่างไร แบ่งมรดกไ